ระบบเศรษฐกิจหมู่บ้านศูนย์กลางการค้าอำเภอลอง หมู่บ้านห้วยอ้อ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่
บ้านห้วยอ้อตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่เป็นหมู่บ้านที่มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพจากการทำการเกษตรมาสู่การทำอาชีพค้าขายกลุ่มของพวกเราได้เลือกศึกษาประเด็นในหมู่บ้านนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงอาชีพของคนในหมู่บ้านถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากการมีอาชีพทำกินถือเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตของชาวบ้านและจากปัจจัยด้านพื้นที่ของหมู่บ้านนี้มีอย่างจำกัดเนื่องมาจากชาวบ้านมีที่อยู่อาศัยกับที่ดินทำกินอยู่คนละพื้นที่และด้วยระยะทางจากที่อยู่อาศัยกับที่ดินทำกินของชาวบ้านส่วนใหญ่นั่นเป็นระยะทางที่ไกลมากจึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาชีพนั่นเองการศึกษาประเด็นดังกล่าวนี้ช่วยอธิบายความสัมพันธ์ในหมู่บ้านได้ว่าการเปลี่ยนแปลงอาชีพจากการทำการเกษตรมาเป็นการประกอบอาชีพค้าขาย เป็นผลมาจากการที่วัดมีการสนับสนุนให้ทำการก่อสร้างและขยายพื้นที่ตลาดซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ของหมู่บ้านห้วยอ้อทำให้เกิดตลาดที่ใหญ่โตและเกิดร้านค้าในบริเวณใกล้ๆพื้นที่ของตลาดขึ้นมากมายและทำให้บริเวณหมู่บ้านห้วยอ้อเป็นแห่งเศรษฐกิจการค้าที่เจริญรุ่งเรืองของอำเภอลองเป็นจุดกระจายสินค้า และแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชนภายในอำเภอลองและชุมชนภายนอกอำเภอลองโดยจะมีแม่ค้าซึ่งเป็นชาวบ้านของชุมชนภายในอำเภอลองเข้ามาขายสินค้าต่างๆในตลาดและจะมีแม่ค้าคนกลางซึ่งจะเป็นชาวบ้านในทุกชุมชนของอำเภอลองที่ห่างไกลตลาดและจะมีแม่ค้าคนกลางจากชุมชนในอำเภอวังชิ้นซึ่งเป็นอำเภอใกล้เคียงกันเข้ามาซื้อสินค้าต่างๆ เพื่อไปจำหน่ายให้ชาวบ้านในหมู่บ้านของตนต่อไป
ซึ่งในการศึกษาข้อมูลในการทำรายงานนี้กลุ่มของพวกเราได้กำหนดขอบเขตของช่วงเวลาในเริ่มการศึกษาในหมู่บ้านตั้งแต่ปีพ.ศ.2169 ซึ่งเป็นปี พ.ศ.ที่พบหลักฐานว่ามีการสร้างวัดขึ้นและตลาดก็กำเนิดขึ้นพร้อมกับวัด ถึง ปี พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นปี พ.ศ.ปัจจุบันที่กลุ่มของพวกเราได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูล และขอบเขตของพื้นที่ในการศึกษาอยู่ในบริเวณบ้านห้วยอ้อตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กลุ่มของพวกเราให้ความสนใจในการศึกษาและเก็บข้อมูลโดยบ้านห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่มีขนาดพื้นที่ 270,877 ตารางเมตร และปัจจุบันปี พ.ศ.2560 มีจำนวนประชากร 1,043คน และมีจำนวนครัวเรือน 423 ครัวเรือน
ประวัติและความเป็นมาของบ้านห้วยอ้อ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่
บ้านห้วยอ้อในอดีตมีพื้นที่รวมถึงบ้านนาม้อบ้านดอนทราย บ้านข่วงเปา และบ้านดอนมูลในปัจจุบัน ซึ่งชื่อห้วยอ้อ หรือ ฮ่องอ้อเรียกตามพื้นที่บริเวณวัดพระธาตุศรีดอนคำที่ก่อนการสร้างวัดขึ้นใน พ.ศ.2169 ด้วยพื้นที่เดิมเป็นทุ่งนาของชาวบ้านและบริเวณนั้นมีต้นอ้อขึ้นอยู่จำนวนมาก และมีลำห้วยอ้อไหลผ่าน เมื่อมีการสร้างวัดและพระธาตุศรีดอนคำขึ้นจึงตึ้งชื่อวัดตามลักษณะเด่นของพื้นที่ว่า วัดฮ่องอ้อ หรือวัดห้วยอ้อ หรือ วัดศรีดอนคำพงอ้อ และตั้งชื่อพระธาตุว่า พระธาตุฮ่องอ้อ หรือพระธาตุห้วยอ้อ หรือ พระธาตุศรีดอนคำพงอ้อต่อมาเริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานถาวรตั้งเป็นหมู่บ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของวัดว่าบ้านห้วยอ้อ หรือ บ้านฮ่องอ้อ จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านและตำบลมาจนถึงปัจจุบัน
บ้านห้วยอ้อเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่เกิดพร้อมกับอำเภอลองมาแต่ก่อนพุทธกาล เริ่มสมัยชนชาติละว้า(ลัวะ) เข้ามามีอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ ตามตำนานพระธาตุแหลมลี่กล่าวว่าเมื่อสมัยพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 65 พรรษาได้เสด็จมาเมืองนี้พร้อมด้วยพระอรหันต์และตรัสว่าเมืองนี้ตั้งแต่เดิมชื่อว่า “กุกุฎไก่เอิก” (เมืองไก่ขัน)ต่อมาราวปีพุทธศักราช 1078พระนางจามเทวีพระราชธิดากษัตริย์ผู้ครองเมืองละโว้ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระยารามัญผู้ครองเมืองอยุธยา (เมืองรามบุรี) ได้เสด็จมาครองเมืองหริภุญชัย(ลำพูน)ได้นำพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาทางชลมารค (ทางน้ำ)แต่แทนที่จะตามลำน้ำปิงขึ้นไปกลับมาทางแยกขึ้นตามลำน้ำยมมาขึ้นบกที่บ้านปากลอง(หมู่ที่ 5 ต.ปากกาง)และเหตุที่หลงทางได้ถกเถียงกันในเรื่องเส้นทางไปเมืองหริภุญชัยจึงขนานนามเมืองนี้ว่า”เมืองเววาภาสิต” และ จากการที่พระนางจามเทวีทรงตรัสว่า”ลองขึ้นไปก่อนเถอะ” คำว่า “ลอง”ที่พระนางจามเทวีทรงตรัสขึ้นมานั้นถูกนำมาเรียกชื่อเมืองใหม่ว่า”เมืองลอง” อีกชื่อหนึ่งอำเภอลองในยุคแรกๆจึงตั้งอยู่ตำบลปากกางเดี๋ยวนี้ในขณะเดียวกันนี้พระนางจามเทวีได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่บริเวณห้วยอ้อ ซึ่งเป็น วัดศรีดอนคำ ในปัจจุบันต่อมา ในราวประมาณปีพุทธศักราช 1824พระเจ้าเม็งรายมหาราช ผู้ครองเมืองเชียงรายได้ทำสงคราม รบชนะเมืองต่างๆในล้านนาจนถึงเมืองลองและได้เมืองลองเป็นเมืองขึ้นทรงเปลี่ยนชื่อเมืองลองใหม่เป็นชื่อ”เมืองเชียงชื่น” (สันนิษฐานว่าเนื่องจากมีแร่เหล็กและแร่ตะกั่วซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า”จีน” มาก) และได้ตั้งพระยาเชิญเมืองเป็นผู้ครองนครขึ้นของเขลางค์นคร (ลำปาง) มีผู้ครองนครสืบต่อมาคือ พระยาหูหิ้นพระยายุธิฐิระมาหมื่นดังนคร พระยาหัวเมืองแก้ว ราวปีพุทธศักราช 2020 สงครามสงบพระยาหัวเมืองแก้วได้พาผู้คนย้ายจากเมืองเชียงชื่นมาตั้งใหม่ที่บ้านนาบ้านก่อน(บริเวณโรงเรียนห้วยอ้อปัจจุบัน)ราวปีพุทธศักราช 2030 ก็ได้ ย้ายเมืองใหม่อีกครั้งหนึ่ง มาตั้งที่เหล่าเวียง(ปัจจุบันคือบริเวณลำห้วยแม่กางบ้านนาจอมขวัญ) ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลับมาใช้ชื่อ”เมืองลอง” เหมือนเดิมต่อนั้นมามีผู้ครองเมือง คือ พระยาช้างแก้วพระยาฟ้าป้อม พระยาฟ้าใหม่ ราวจนปี พุทธศักราช 2134พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และเลยมาถึงเมืองลองพระยาฟ้าป้อมและพระยาฟ้าใหม่ตายในสนามรบ เมืองลองแตกและว่างผู้ครองเมืองอยู่ระยะหนึ่งราวปี พุทธศักราช 2140เจ้าผู้ครองนครลำปางได้ตั้งบุรุษผู้หนึ่งซึ่งอาสาจับช้างลายเสือนำไปถวายเจ้าเมืองลำปางและตั้งให้เป็นเจ้าเมืองลองให้ชื่อว่า พระยาช้างปาน ครองเมืองลอง ต่อมาราวปีพุทธศักราช 2160 ได้มีเจ้าผู้ครองเมืองสืบต่อมาคือ พระยาครุธราช พระยาจอมหัวค่ำพระยาขุนท่า พระยาชัย พระยาคำลิ่มราวปี พุทธศักราช 2318 พระยาคำลิ่มถึงแก่อสัญกรรมไม่มีผู้ปกครองลำปางจึงให้พระยาชื่นสมบัติมาครองเมืองโดยมีผู้ครองเมืองสืบต่อกันมาตลอดเพราะเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนาจนตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดจนสืบมา จนกระทั่งปีพ.ศ. 2445 พญาขัณฑสีมาโลหะกิจเจ้าเมืองลองคนสุดท้ายถูกพวกเงี้ยวฟันจนถึงแก่พิราลัยถือเป็นอันสิ้นสุดการปกครองแบบเจ้าเมืองเดิมอำเภอเมืองลองขึ้นกับนครลำปาง จนกระทั่งวันที่ 25 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2474โอนอำเภอลองเข้ามาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านห้วยอ้อเป็นหมู่บ้านที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีดอนคำและมีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันและมีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางของอำเภอลอง ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยเหนือนับถือศาสนาพุทธ
สภาพภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติภายในหมู่บ้าน
บ้านห้วยอ้อ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลองจังหวัดแพร่ มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเนินที่สูงกว่าระดับแม่น้ำและพื้นที่จะมีก้อนหินเป็นจำนวนมาก ส่วนแม่น้ำจะมีน้ำแม่กางไหล และมีแม่น้ำยมไหลผ่านในบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียงแหล่งน้ำไม่ใช้ปัญหาในการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้าน บ้านห้วยอ้อ เพราะชาวบ้านบ้านห้วยอ้อ มีการขุดบ่อน้ำ ไว้ใช้ดื่มกิน แต่ในส่วนแหล่งที่ดินทำกิน ชาวบ้านบ้านห้วยอ้อเดิมมีอาชีพหลักคือการทำเกษตร ทำนา ทำสวน ทำไร่ ซึ่งพื้นที่การทำการเกษตรจะอยู่ในบริเวณใกล้ๆแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และค่อนข้างไกลจากแหล่งที่พักอาศัย ต้องใช้เวลาในการเดินทางระหว่างที่พักอาศัยกับแหล่งพื้นที่ในการทำการเกษตรค่อนข้างมาก ส่วนพื้นที่ในหมู่บ้านจะมีไว้เป็นพื้นที่สำหรับทำที่พักอาศัยชาวบ้านเลือกที่จะสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณนี้ก็เพราะว่า ช่วงหน้าฝนในแม่น้ำจะมีระดับน้ำสูงขึ้น แต่บริเวณนี้น้ำท่วมมาไม่ถึงจึงปลอดภัยจากอุบัติภัยทางน้ำ
สภาพอากาศในบริเวณที่ชาวบ้านบ้านห้วยอ้อตั้งถิ่นฐานนั้นเป็นไปตามฤดูกาลของภาคเหนือในประเทศไทย มี 3 ฤดูกาล นั้นก็คือช่วงระหว่างเดือน พฤศจิกายน – มกราคมจะเป็นฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำในเดือน ธันวาคม – มกราคมเฉลี่ยประมาณ15 องศาเซนเซียส อุณหภูมิจะสูงขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน โดยเฉพาะเดือนเมษายน อุณหภูมิจะสูงสุด อากาศจะร้อนจัดและเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิจะลดลงเรื่อยๆ ฝนจะเริ่มตก เป็นช่วงฤดูฝนจนเข้าเดือนพฤศจิกายน ช่วงฤดูหนาว อากาศจะหนาวเยือกเย็น เนื่องจากสภาพพื้นที่ใกล้กับบริเวณป่าเขาซึ่งสภาพภูมิอากาศอยู่ในบริเวณที่ฝนตกมากพอสำหรับการเพาะปลูก ผู้คนในหมู่บ้านจึงหาจับจองพื้นที่เพาะปลูกในหมู่บ้านใกล้เคียงให้ใกล้กับแหล่งน้ำและประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ดี
การประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน
กลุ่มของพวกเราได้เริ่มศึกษาการประกอบอาชีพของชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2169 พบว่ามีการประกอบอาชีพเกษตรกร การทำนา ทำสวน ทำไร่และเมื่อได้ผลผลิตแล้วจะนำผลผลิตที่ได้มาใช่เพื่อยังชีพหรือแลกเปลี่ยนกับผลผลิตอื่นๆของคนในหมู่บ้านของตน ในบริเวณข้างๆวัดศรีดอนคำที่ถือเป็นตลาดเล็กๆในการแลกเปลี่ยนผลผลิตในสมัยนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ทางคณะกรรมการวัดศรีดอนคำได้สนับสนุนให้ทำการก่อสร้างและขยายพื้นที่ตลาดประกอบกับการที่ชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อมีพื้นที่ทำการเกษตรที่ห่างไกลที่พักอาศัยทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อส่วนหนึ่งตัดสินใจหันมาทำอาชีพค้าขายและได้ขายพื้นที่ทำการเกษตรของตนให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านหรือชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียง และประกอบกับเศรษฐกิจทางการเกษตรมีความต้องการผลผลิตของพืชเศรษฐกิจจำนวนมากอีกทั้งยังการก่อตั้งโรงสีข้าวขนาดใหญ่ที่มีการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรชาวบ้านในส่วนที่มีพื้นที่ทำการเกษตรจึงหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจกันมากขึ้น เช่น ปลูกข้าวโพดมันสำปะหลัง แต่ก็ยังมีชาวบ้านอีกบางส่วนที่มีพื้นที่ทำกินน้อยเมื่อทำการเกษตรจึงได้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อครัวเรือนจึงต้องส่งลูกหลานไปทำงานต่างจังหวัด
ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของหมู่บ้าน
น้ำประปา ชาวบ้านหมู่บ้านห้วยอ้อมีน้ำประปาใช้ครั้งแรก ราวๆปี พ.ศ.2528จากที่แต่ก่อน ชาวบ้านต้องเดินทางไปหาบน้ำมากินมาใช้กันเองนับว่ามีความสะดวกสบายเกิดขึ้นอีกหนึ่งอย่าง เมื่อมีน้ำประปาเข้ามาชาวบ้านก็มีเวลาทำมาหากินเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องไปเดินหาบน้ำวันละหลายๆรอบ โดยต้นทางของน้ำประปามาจากการสูบแม่น้ำยมขึ้นมาทางบ้านปากกางตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ส่งต่อมาที่ทำการประปาตำบลห้วยอ้อ
ถนนปูน ก่อนการมาของถนนปูนนั้นชาวบ้าน บ้านห้วยอ้อ ยังใช้ถนนลูกลัง ซึ่งเป็นดินอยู่ และเมื่อราวๆปี พ.ศ.2545 ทางเทศบาลมีการจัดทำถนนปูน ทำให้ชาวบ้านที่ใช้ถนนนั้นมีความสะดวกยิ่งขึ้น
ถนนลาดยาง ปี พ.ศ.2552 ทางเทศบาลได้ทำถนนลาดยางให้กับชาวบ้าน บ้านห้วยอ้อเพื่อการสัญจรที่ดีขึ้น
ไฟฟ้า เข้ามายังหมู่บ้าน ราวๆปีพ.ศ.2509 ชาวบ้านเปลี่ยนจากการใช้ตะเกียงที่ใช้ให้แสงสว่างยามค่ำคืนมาใช้ไฟฟ้าจากหลอดไฟ ทำให้ชาวบ้านมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ทำงานในที่มืดๆง่ายขึ้น
สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน
1.วัดศรีดอนคำ
วัดศรีดอนคำเป็นวัดราษฎร์เป็นโบราณสถานที่มีพระธาตุเก่าแก่ขนาดใหญ่ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1078 เมื่อคราวพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ไปเมืองหริภุญชัยต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2169 จึงมีการสร้างวัดศรีดอนคำขึ้นโดยบริเวณวัดตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ 11 ไร่ 2 งาน 169 ตารางวา
ประวัติความเป็นมาองค์พระธาตุห้วยอ้อ
พระธาตุห้วยอ้อเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่และเป็นที่สักการะเคารพบูชาของชาวเมืองลองมาแต่โบราณกาลนับระยะเวลาถึง ๑,๐๐๐ ปี ตามตำนานพระธาตุห้วยอ้อและตำนานแหลมลี่ยังกล่าวถึงประวัติเมืองลองจะเห็นได้ว่าประวัติเมืองลองนั้นยังอ้างตามตำนานของพระธาตุห้วยอ้อแสดงให้เห็นว่าพระธาตุห้วยอ้อนั้นมีความสำคัญต่อชาวเมืองลองมากในอดีต
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้นพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้เพื่อเดินทางไปปกครองเมืองหริภุญชัยโดยเสด็จมาทางเรือตามกระแสน้ำปิง ชะรอยทางผิดมาตามลำน้ำยมได้พลัดหลงเข้ามาบริเวณหนองอ้อ จึงได้เกิดโต้เถียงซักถามกันในหมู่ข้าราชบริพารว่ามาถูกทางหรือไม่เมื่อหาข้อยุติไม่ได้พระนางจามเทวีจึงตรัสว่า “ลองขึ้นไปดูก่อนเถอะ” และก่อนจะออกจากบริเวณแห่งนี้พระนามจามเทวีได้โปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าช่วงพระอุระ(กระดูกอก) บรรจุในพระธาตุมาสร้างขึ้น ณ ริมฝั่งปงอ้อนั้น ในเวลาต่อมาพระธาตุนี้คือ พระธาตุห้วยอ้อวัดศรีดอนคำ
ต่อมาพระธาตุแห่งนี้ได้รับการบูรณะหลายครั้งปัจจุบันมีฐานเป็นปูน ส่วนบนประดับด้วยแผ่นโลหะสีทองอยู่ด้านหลังพระอุโบสถหลังใหญ่ แม้ว่าองค์พระธาตุจะถูกทำการบูรณะหลายครั้งก็ยังคงเป็นที่สักการะเคารพบูชาของชาวบ้านในอำเภอลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาอำเภอลอง
อำเภอลอง หรือเมืองลองเดิมเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำปางอยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1023เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2475มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ทางการจึงโอนมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ ใน 8อำเภอ
ตามตำนานแล้วเมืองลองเป็นเมืองที่ตั้งมานานนับพันปี กล่าวกันว่า สร้างมาก่อนสมัยพุทธกาลเหตุที่เรียกเมืองลอง เพราะว่าพระนางจามเทวีได้หลงทางมาถึงบริเวณที่ตั้งเมืองจึงตรัสว่า”ลองขึ้นไปก่อนเถอะ” เหตุดังกล่าว จึงเรียกว่า เมืองลอง
คำขวัญของอำเภอลองมีว่า”พระธาตุล้ำค่า ส้มพุทรารสเลิศ แหล่งกำเนิดผ้าจก มรดกสวนหินถิ่นชาวเมืองลอง”
ประวัติพระเจ้าพร้าโต้วัดศรีดอนคำ
อดีตพระครูอดุลย์สารธรรมเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีดอนคำ บอกเล่าถึงความเป็นมาของ พระเจ้าพร้าโต้ว่าพระเจ้าพร้าโต้ เป็นพระที่ทำการแกะสลักไม้ด้วยพร้าโต้ หรือมีดอีโต้ที่มีขวานเล็กๆอยู่ข้างบน เพื่อสะดวกในการเจาะพระเจ้าพร้าโต้เป็นศิลปะพื้นบ้านที่มีการผสมผสานกับศิลปะเชียงรุ้งซึ่งผู้สร้างใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการใช้พร้าโต้แกะสลักไม้ให้ออกมาเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามและจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองลองที่มีการสร้าง “วัดศรีดอนคำ”มีพระยาลำปางและพระยานครแพร่ช่วยกันสร้าง มีการขออนุญาตโบกปูนและสร้างกุฏิให้พระเจ้ามหาเถรเจ้าสุทธนะเป็นพระประธานโดยได้สร้างพระวิหารขึ้นในปี พ.ศ.2236 พร้อมพระอุโบสถขนาดเล็กกว้าง 4 วา ยาว 8 วาโดยลาดพื้นและผูกพัทธสีมา มีการจัดทำพระพุทธรูปองค์หนึ่งเรียกว่า พระเจ้าพร้าโต้โดยสร้างจากไม้แก่นจันทน์ทั้งต้น และส่วนที่มีขนาดเล็กได้สร้างพระขนาดเล็กอีก 4องค์ รวมทั้งสิ้น 5 องค์ องค์ที่ 2 กรมศิลปากรอัญเชิญไปประดิษฐานที่ไร่แม่ฟ้าหลวงองค์ที่ 3 อัญเชิญไปประดิษฐานที่พิพิธภัณฑ์วัดหลวง อ.เมืองแพร่ องค์ที่ 4ถูกขโมยไป องค์ที่ 5 มีขนาดเล็กที่สุด ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดอนคำ
พระเจ้าพร้าโต้ มีความสูง 3 เมตรหน้าตักกว้าง 1.5 เมตร ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว และทางวัดได้สร้างศาลาให้ประดิษฐานเป็นอย่างดี ป้องกันการโจรกรรมนอกจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ยังมีพระไม้ขนาดเล็ก ที่สร้างด้วยมีดอีกจำนวน 1,000 องค์
ประวัติระฆังระเบิด
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง นายหลงมโนมูล คนงานรถไฟสถานีแก่งหลวงได้ไปพบลูกระเบิดที่ทิ้งจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรที่นำระเบิดมาทิ้งเพื่อทำลายสะพานรถไฟข้ามน้ำห้วยแม่ต้า (อยู่ระหว่างสถานีรถไฟเด่นชัยกับสถานีรถไฟบ้านปินอำเภอลอง) เพื่อสกัดการเดินทางของทหารญี่ปุ่นเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่สอง(พ.ศ.2485- 2488) เป็นคนแรก ซึ่งระเบิดนั้นด้าน(ไม่ระเบิด) จึงได้มาบอกนายสมาน หมื่นขันทราบนายสมานจึงได้ไปดูและขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟสถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่นายชุม ขันแก้ว นายชัยวัฒน์ พึ่งพอง นายพินิจ สุทธิสุข นายย้าย ปัญญาทองให้มาช่วยกันขุดขึ้นจากหลุมทรายที่ทับถมอยู่มีจำนวน 2ลูก(มีขนาดความโตกว่าถังแก๊สชนิดยาว) และทำการถอดชนวนระเบิด โดยใช้เรื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิดล้วงเอาดินระเบิดออก จากนั้นได้นำลูกระเบิดขึ้นบรรทุกล้อเกวียน จากความหนักของลูกระเบิดที่นำขึ้นบรรทุกล้อ(เกวียน)ถึงกับทำให้ซ้าวล้อ(คานของเกวียน)หักถึงกลับต้องเปลี่ยนใหม่ส่วนระเบิดลูกที่สามช่วยกันขุดด้วยแรงคนไม่ได้เพราะจมอยู่ในหลุมทรายลึกมากจึงได้ไปตามนาย บุญมา อินปันตี ซึ่งเป็นเจ้าของช้างลากไม้อยู่บริเวณใกล้เคียงให้นำช้างมาลากลูกระเบิดขึ้นจากหลุมทรายได้ทำการถอดชนวนและล้วงเอาดินระเบิดออกแล้วจึงนำมาสมถบกับลูกระเบิดสองลูกที่นำมาก่อนแล้วที่บ้านแม่ลู้ ต.บ้านปินจากนั้นก็ลากโดยบรรทุกบนล้อ(เกวียน) มุ่งเข้าสู่หมู่บ้านชาวบ้านสองข้างทางทราบข่าว และเห็นล้อ บรรทุกลูกระเบิดตามกันมา 3 คันต่างก็เดินตามกันมาเป็นขบวนยาว ผ่านหน้าบ้านผู้ใดต่างก็เดินเข้ามาสมทบเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย จนมาถึงบ้านแม่ลานเหนือใกล้วัดชาวบ้านยิ่งออกมาดูกันมากขึ้นชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่บ้านอยู่ใกล้วัดได้นำฆ้อง-กลองยาว ฉิ่ง-ฉาบออกมาต้อนรับขบวนแห่ เหมือนกับการต้อนรับขบวนกฐิน หรือผ้าป่าทำนองนั้นแล้วแห่เข้าวัด ทำการถวายลูกระเบิดให้เป็นสมบัติของวัดเพื่อใช้เป็นระฆังส่วนระเบิดลูกที่ 2 ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ สำหรับระเบิดลูกที่ 3ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดนาตุ้ม ต.บ่อทองลอง ปัจจุบัน (พ.ศ.2553) ระเบิดลูกที่ 1 เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือต.ห้วยอ้อ ระเบิดลูกที่ 2 เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ ส่วนระเบิดลูกที่ 3เก็บไว้ที่วัดนาตุ้ม ต.บ่อเหล็กลอง
2.ตลาดสดห้วยอ้อ
ตลาดสดห้วยอ้อเป็นตลาดเก่าแก่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับวัดและอยู่คู่กับวัดมาตลอด เดิมตลาดสดห้วยอ้อเป็นเพียงพื้นที่โล่งๆข้างกำแพงวัดที่มีเฉพาะชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อวางกระบุงขายหรือมีการแลกเปลี่ยนของกับชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงเพราะวัดศรีดอนคำเป็นวัดที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านทั้งหมดในเขตเทศบาลห้วยอ้อตลาดสดในขณะนั้นถือเป็นตลาดขนาดเล็ก และต่อมาในปี พ.ศ. 2500ทางวัดศรีดอนคำได้มีการพัฒนาพื้นที่เดิมโดยคณะกรรมการของวัดศรีดอนคำเกิดความคิดที่สามารถสร้างประโยชน์ต่อทางวัดและชาวบ้านในชุมชมบริเวณใกล้เคียง จึงได้ทำการสร้างตลาดสดห้วยอ้อขึ้นและขยายให้เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ ที่เปิดให้ชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นๆ หรือบริเวณที่ใกล้ออกไปสามารถเข้ามาขายสินค้าได้เพื่อส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวบ้าน และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนโดยวัดเป็นผู้จัดการตลาด
เมื่อตลาดสดห้วยอ้อเปิดทำการทางวัดให้สิทธิชาวบ้านจับจองแผงลอยหรือพื้นที่วางขายสินค้าครัวเรือนละหนึ่งพื้นที่ มีเอกสารสิทธิเป็นชื่อของผู้ถือสิทธิแต่ผู้ถือสิทธิต้องจ่ายค่าเช่าให้กับทางวัด 800 – 1000 บาทต่อปีและทางวัดจะเปิดให้ผู้สนใจหารายได้เสริมมาประมูลการเก็บค่าน้ำค่าไฟในตลาดสดห้วยอ้อโดยแม่ค้าจะต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟให้แก่ผู้ที่ได้รับการประมูลนี้ วันละ 5 บาทต่อหนึ่งแผงลอยและแผงลอยในตลาดสดห้วยอ้อนี้ สามารถเปลี่ยนผู้ถือสิทธิโดยการซื้อขายแผงลอยได้หรือเป็นสมบัติส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้
ปัจจุบันตลาดสดห้วยอ้อเป็นแหล่งเศรษฐกิจหรือเรียกว่าเป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอลองตลอดสองฟากถนนจะเป็นร้านค้าขายปลีกและส่ง มีแม่ค้ามาขายสินค้ามากมายทั้งในหมู่บ้านนอกหมู่บ้าน และแม่ค้าที่มาจากต่างจังหวัดและตลาดแห่งนี้ได้กลายเป็นตลาดโต้รุ่งขนาดใหญ่ ที่มีสินค้าอุปโภค บริโภคขายครบครั้น โดยจะเริ่มขายตั้งแต่เวลาตี1ของทุกๆวัน จนถึง หกโมงเย็นของทุกๆวันเมื่อถึงเวลาขายสินค้าจะมีแม่ค้าจากหมู่บ้านที่ห่างไกลตลาดมากๆหรือหมู่บ้านที่อยู่ต่างอำเภอเข้ามาเลือกซื้อสินค้าเพื่อเอากลับไปขายให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านของตนสินค้าที่แม่ค้าหมู่บ้านห่างไกลตลาดมาเลือกซื้อไปนั้น ส่วนมากจะเป็นอาหารสดผักผลไม้สด และอาหารที่ปรุงพร้อมรับประทาน ขนมหวาน สินค้าประเภทผักและผลไม้สดส่วนน้อยจะเป็นผลผลิตของชาวบ้าน แต่ส่วนมากนั้นจะเป็นผลผลิตที่มาจากต่างจังหวัดซึ่งต่างจากในอดีตที่ชาวบ้านจะนำผลผลิตของตนเองมาขายเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงการผลิตเพื่อยังชีพเป็นการผลิตเชิงพาณิชย์ ของหมู่บ้านห้วยอ้อ (พ.ศ.2500 – พ.ศ.2524)
หมู่บ้านห้วยอ้อ ก่อนปี พ.ศ.2500 มีการทำการเกษตรแบบยังชีพแต่ด้วยเหตุที่พื้นที่ในหมู่บ้านมีแบบจำกัด ไม่มีพื้นที่ให้ทำการเพาะปลูกมีเพียงพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น และในปี พ.ศ.2500ทางวัดมีการสร้างตลาดขึ้น ชาวบ้านจึงมีแนวทางการทำมาหากิน มีอาชีพในการสร้างรายได้แบบใหม่โดนไม่ต้องเดินทางระยะไกลไปยังพื้นที่เพาะปลูก การที่ชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อ มีพื้นที่ทำการเกษตรที่ห่างไกลที่พักอาศัยทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อส่วนหนึ่งตัดสินใจหันมาทำอาชีพค้าขายและได้ขายพื้นที่ทำการเกษตรของตนให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านหรือชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงและประกอบกับเศรษฐกิจทางการเกษตรมีความต้องการผลผลิตของพืชเศรษฐกิจจำนวนมาก
ในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ตั้งแต่ พ.ศ.2500 เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยเกิดจากการส่งออกสินค้าเกษตรและการไหลเข้าของเงินทุน-เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศส่วนภาคอุตสาหกรรมในช่วงแรกยังเน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเป็นหลักซึ่งช่วงหลังของทศวรรษที่ 2510 จึงเริ่มเปลี่ยนทิศทางมาเป็นการผลิตเพื่อส่งออก(โดยเฉพาะหลังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา) อีกทั้งยังเริ่มมีการก่อตั้งโรงสีข้าวขนาดใหญ่ในบริเวณใกล้เคียงหมู่บ้านที่มีการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรชาวบ้านในส่วนที่มีพื้นที่ทำการเกษตรจึงหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจกันมากขึ้น เช่นปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือพืช ผัก ผลไม้ที่อุตสาหกรรมรมมีความต้องการมากและเริ่มมีพ่อค้าคนกลางเดินทางจากต่างพื้นที่เข้ามารับซื้อผลผลิตทำให้ระบบการผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านในหมู่บ้านเปลี่ยนไปจากเดิม
ชาวบ้านในหมู่บ้านเริ่มรู้จักการทำการเกษตรในรูปแบบการผลิตเชิงพาณิชย์จากเดิมที่ชาวบ้านจะทำการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตเพียงพอต่อการยังชีพเท่านั้นแต่ในยุคนี้ชาวบ้านจะผลิตผลผลิตให้ได้มาก เพื่อขายให้กับโรงสีหรือพ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อ ช่วงแรกๆ การซื้อขายผลผลิตก็เป็นไปด้วยดีแต่พอระยะเวลาดำเนินไปหลายปีพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อผลผลิตจะเริ่มกดราคาผลผลิตของชาวบ้านทำให้ชาวบ้านขายผลผลิตแล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุนที่เสียไปในการผลิตชาวบ้านบางรายเป็นหนี้สินและสู้ไม่ไหวก็ต้องขายพื้นที่ทำกินไปทำให้การผลิตเชิงพาณิชย์ของชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อ เริ่มลดน้อยถอยลงไปในทุกๆ ปี
การเปลี่ยนแปลงอาชีพของชาวบ้านหมู่บ้านห้วยอ้อ
จากอาชีพเกษตรกรมาเป็นอาชีพค้าขาย (พ.ศ.2525)
เนื่องจากชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อมีปัญหาจากการทำการเกษตร คือมีพื้นที่ทำการเกษตรที่อยู่ห่างไกลจากที่พักอาศัยจึงมีชาวบ้านส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนมาทำอาชีพค้าขายในตลาดเมื่อปี พ.ศ.2500 ที่ทางวัดศรีดอนคำได้มีการสร้างตลาดขึ้นและอีกปัญหาหนึ่งคือการที่ชาวบ้านอีกส่วนที่เหลือไปเปลี่ยนมาทำการเกษตรเชิงพาณิชย์แล้วโดนพ่อค้าคนกลางกดราคาผลผลิตจนทำให้ชาวบ้านหมดหนทางทำการเกษตร เพราะขายผลผลิตไปราคาต่ำ และในปี พ.ศ.2525 ทางวัดศรีดอนคำได้ปรับปรุงและขยายตลาดขึ้นเป็นตลาดขนาดใหญ่ จึงทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อส่วนใหญ่ หันมาทำอาชีพค้าขายในตลาดแห่งนี้แทนการทำการเกษตรบางครัวเรือนที่ยังมีพื้นที่ทำการเกษตรก็จะกลับมาปลูกข้าวเพื่อยังชีพ หรือทำสวนผักผลไม้ แล้วนำผลผลิตไปขายในตลาดแทนการขายให้พ่อค้าคนกลาง เมื่อตลาดมีพ่อค้า แม่ค้าและสินค้า ขายมากมาย จึงทำให้บริเวณตลาดและบริเวณใกล้เคียงตลาดแห่งนี้ได้กลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอลองมาจนถึงปัจจุบัน
และปัจจุบันตลาดสดห้วยอ้อ ได้กลายเป็นตลาดโต้รุ่งขนาดใหญ่โดยจะเริ่มขายตั้งแต่เวลาตี1ของทุกๆวัน จนถึง หกโมงเย็นของทุกๆวัน และจะมีแม่ค้ามาขายสินค้ามากมายทั้งในหมู่บ้านนอกหมู่บ้าน และแม่ค้าที่มาจากต่างจังหวัด และ ที่มีสินค้าอุปโภค บริโภคขายครบครั้น เมื่อถึงเวลาขายสินค้าจะมีแม่ค้าจากหมู่บ้านที่ห่างไกลตลาดมากๆหรือหมู่บ้านที่อยู่ต่างอำเภอเข้ามาเลือกซื้อสินค้าเพื่อเอากลับไปขายให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ซึ่งสินค้าประเภทผักและผลไม้สดส่วนน้อยจะเป็นผลผลิตของชาวบ้าน แต่ส่วนมากนั้นจะเป็นผลผลิตที่มาจากต่างจังหวัด มีความแตกต่างจากในอดีตที่ชาวบ้านจะนำผลผลิตของตนเองมาขายเท่านั้นและสินค้าที่แม่ค้าหมู่บ้านห่างไกลตลาดมาเลือกซื้อไปนั้น ส่วนมากจะเป็นอาหารสดผักผลไม้สด และอาหารที่ปรุงพร้อมรับประทาน ขนมหวาน
และเนื่องจากใน3ปีที่ผ่านมาวัดศรีดอนคำไปรับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ซึ่งไปมาเที่ยวชมวัดทำให้ตลาดสดห้วยอ้อที่ตั้งอยู่ข้างๆวัดศรีดอนคำก็ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวด้วยทำให้มีความจากต่างจังหวัดเข้ามาเดินเลือกซื้อของกิน ของฝากในตลาดสดห้วยอ้อมากขึ้นทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อ มีรายได้เพิ่มมากขึ้นไปด้วย
บทสรุป
บ้านห้วยอ้อ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลองจังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่เกิดพร้อมกับอำเภอลองมาแต่ก่อนพุทธกาลและได้รับการแบ่งเขตให้เป็นหมู่บ้านห้วยอ้อตามประกาศกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2457 และบ้านห้วยอ้อ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลองจังหวัดแพร่ มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเนินที่สูงกว่าระดับแม่น้ำและพื้นที่จะมีก้อนหินเป็นจำนวนมาก ส่วนแม่น้ำจะมีน้ำแม่กางไหลและมีแม่น้ำยมไหลผ่านในบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียงแหล่งน้ำไม่ใช้ปัญหาในการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้าน บ้านห้วยอ้อ เพราะชาวบ้านบ้านห้วยอ้อ มีการขุดบ่อน้ำ ไว้ใช้ดื่มกิน แต่ในส่วนแหล่งที่ดินทำกินชาวบ้านบ้านห้วยอ้อ เดิมมีอาชีพหลักคือการทำเกษตร ทำนา ทำสวน ทำไร่ซึ่งพื้นที่การทำการเกษตร จะอยู่ในบริเวณใกล้ๆแหล่งน้ำขนาดใหญ่และค่อนข้างไกลจากแหล่งที่พักอาศัย ต้องใช้เวลาในการเดินทางระหว่างที่พักอาศัยกับแหล่งพื้นที่ในการทำการเกษตรค่อนข้างมากส่วนพื้นที่ในหมู่บ้านจะมีไว้เป็นพื้นที่สำหรับทำที่พักอาศัยชาวบ้านเลือกที่จะสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณนี้ก็เพราะว่า ช่วงหน้าฝนในแม่น้ำจะมีระดับน้ำสูงขึ้น แต่บริเวณนี้น้ำท่วมมาไม่ถึง จึงปลอดภัยจากอุบัติภัยทางน้ำและบ้านห้วยอ้อ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ยังเป็นหมู่บ้านที่มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพจากการทำการเกษตรมาสู่การทำอาชีพค้าขายซึ่งในการศึกษาข้อมูลได้กำหนดขอบเขตของช่วงเวลาในเริ่มการศึกษาในหมู่บ้านตั้งแต่ปีพ.ศ.2169 ซึ่งเป็นปี พ.ศ.ที่พบหลักฐานว่ามีการสร้างวัดขึ้นและตลาดก็กำเนิดขึ้นพร้อมกับวัดถึง ปี พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นปีพ.ศ.ปัจจุบันที่กลุ่มของพวกเราได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูล
เนื่องจากชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อมีปัญหาจากการทำการเกษตร คือมีพื้นที่ทำการเกษตรที่อยู่ห่างไกลจากที่พักอาศัยจึงมีชาวบ้านส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนมาทำอาชีพค้าขายในตลาดเมื่อปี พ.ศ.2500ที่ทางวัดศรีดอนคำได้มีการสร้างตลาดขึ้นและอีกปัญหาหนึ่งคือการที่ชาวบ้านอีกส่วนที่เหลือไปเปลี่ยนมาทำการเกษตรเชิงพาณิชย์แล้วโดนพ่อค้าคนกลางกดราคาผลผลิตจนทำให้ชาวบ้านหมดหนทางทำการเกษตร เพราะขายผลผลิตไปราคาต่ำ และในปี พ.ศ.2525ทางวัดศรีดอนคำได้ปรับปรุงและขยายตลาดขึ้น เป็นตลาดขนาดใหญ่จึงทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านห้วยอ้อส่วนใหญ่หันมาทำอาชีพค้าขายในตลาดแห่งนี้แทนการทำการเกษตรบางครัวเรือนที่ยังมีพื้นที่ทำการเกษตรก็จะกลับมาปลูกข้าวเพื่อยังชีพ หรือทำสวนผักผลไม้ แล้วนำผลผลิตไปขายในตลาดแทนการขายให้พ่อค้าคนกลาง เมื่อตลาดมีพ่อค้า แม่ค้าและสินค้า ขายมากมายจึงทำให้บริเวณตลาดและบริเวณใกล้เคียงตลาดแห่งนี้ได้กลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอลองมาจนถึงปัจจุบัน
บรรณานุกรม
ภูเดช แสนสา. เมืองลอง ,เชียงราย : สานักพิมพ์ล้อล้านนา, 2555.
กัลยาณี ประเสริฐขรวงศ์. นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร. สัมภาษณ์, 17 มีนาคม 2560
ผ่องศรี วันแก้ว. หัวหน้าสานักปลัดเทศบาล. สัมภาษณ์, 17 มีนาคม 2560
วนิดา นิยม. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน. สัมภาษณ์, 17 มีนาคม 2560
วิจิตร มนีปัญญา. ไวยาวัจกร และเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคา. สัมภาษณ์, 15 กุมภาพันธ์ 2560
วิรัตน์ อินปันดี. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงานปกครอง. สัมภาษณ์, 17 มีนาคม 2560
สุรีย์ แปงคา. ผู้ที่อาศัยในชุมชนห้วยอ้อ. สัมภาษณ์, 17 มีนาคม 2560
สุวรรณณา แปงคา. ผู้ที่อาศัยในชุมชนห้วยอ้อ. สัมภาษณ์, 17 มีนาคม 2560
แสงจันทร์ ปัญญาดี. ผู้ที่อาศัยในชุมชนห้วยอ้อ. สัมภาษณ์, 17 มีนาคม 2560
อนันท์ ปัญญาดี. ผู้ที่อาศัยในชุมชนห้วยอ้อ. สัมภาษณ์, 17 มีนาคม 2560
เทศบาลตาบลห้วยอ้อ. (2553). [ออนไลน์] เข้าถึงจาก ://www.huayor.go.th/condition.php สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560
ประวัติและความเป็นมาของวัดศรีดอนคา. (2553). [ออนไลน์] เข้าถึงจาก: //www.seedoncom.com/ index1.htm สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560
พัฒนาการของเศรษฐกิจไทย. (2554). [ออนไลน์] เข้าถึงจาก: //www.siamintelligence.com/development-of-thai-economy/ สืบค้น เมื่อ 21 มีนาคม 2560
แพร่แห่ระเบิด. (2556). [ออนไลน์] เข้าถึงจาก: //stamstammii.blogspot.com/2013/05/blog-Post_8844.html สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2560
วัดพระธาตุศรีดอนคา. (2555). [ออนไลน์] เข้าถึงจาก: //www.phrae.go.th/tem/tip/nature_Phrae/hagi12.html สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2560
แหล่งที่มา https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=memory-travel&group=1 |