ข้อมูลทั่วไป » ประวัติ อำเภอลอง

ประวัติ อำเภอลอง

10 มีนาคม 2019
647   0

อำเภอลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

อำเภอลอง
แผนที่จังหวัดแพร่ เน้นอำเภอลอง
งามพระธาตุล้ำค่า ส้มพุทรารสเลิศ
แหล่งกำเนิดผ้าจก มรดกสวนหิน ถิ่นชาวเมืองลอง
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอลอง
อักษรโรมัน Amphoe Long
จังหวัด แพร่
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 1,447.3 ตร.กม.
ประชากร 54,553 คน (พ.ศ. 2561)
ความหนาแน่น 37.69 คน/ตร.กม.
รหัสทางภูมิศาสตร์ 5403
รหัสไปรษณีย์ 54150
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอลอง เลขที่ 166
หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
พิกัด 18°4′30″N 99°49′54″E
โทรศัพท์ 0 5458 1599
โทรสาร 0 5458 1618
—- สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอลอง (คำเมืองLanna-Long.png) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่

ประวัติ[แก้]

อำเภอลองเป็นเมืองเก่ามาแต่ก่อนพุทธกาล ไม่สามารถว่าชนชั้นใดปกครองจับเอาความได้ว่าเริ่มสมัยชนชาติละว้า (ลัวะ) เข้ามามีอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ ตามตำนานพระธาตุแหลมลี่กล่าวว่า เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 65 พรรษาได้เสด็จมาเมื่องนี้พร้อมด้วยพระอรหันต์ และตรัสว่าเมืองนี้ตั้งแต่เดิมชื่อว่า “กุกุฎไก่เอิก” (เมืองไก่ขัน) ต่อมาราวปีพุทธศักราช 1078 พระนางจามเทวีพระราชธิดากษัตริย์ผู้ครองเมืองละโว้ซึ่งเป็นพระมเหสี ของพระยารามัญผู้ครองเมืองอยุธยา (เมืองรามบุรี) ได้เสด็จมาครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน)ได้นำพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาทางชลมารค (ทางน้ำ) แต่แทนที่จะตามลำน้ำปิงขึ้นไปกลับมาทางแยกขึ้นตามลำน้ำยมมาขึ้นบกที่บ้านปากลอง (หมู่ที่ 5 ต.ปากกาง) และเหตุที่หลงทางได้ถกเถียงกันในเรื่องเส้นทางไปเมืองหริภุญชัยจึงขนานนามเมืองนี้ว่า “เมืองเววาภาสิต” และ จากการที่พระนางจามเทวีทรงตรัสว่า “ลองขึ้นไปก่อนเถอะ” คำว่า “ลอง” ที่พระนางจามเทวีทรงตรัสขึ้นมานั้นถูกนำมาเรียกชื่อเมืองใหม่ว่า “เมืองลอง” อีกชื่อหนึ่งอำเภอลองในยุคแรกๆ จึงตั้งอยู่ตำบลปากกางเดี๋ยวนี้ในขณะเดียวกันนี้พระนางจามเทวีได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่บริเวณ ห้วยอ้อ ซึ่งเป็น วัดศรีดอนคำ ในปัจจุบันต่อมา ในราวประมาณปีพุทธศักราช 1824 พระเจ้าเม็งรายมหาราชผู้ครองเมืองเชียงรายได้ทำสงคราม รบชนะเมืองต่างๆ ในล้านนาจนถึงเมืองลองและได้เมืองลองป็นเมืองขึ้นทรงเปลี่ยนชื่อเมืองลองใหม่เป็นชื่อ “เมืองเชียงชื่น” (สันนิษฐานว่าเนื่องจากมีแร่เหล็กและแร่ตะกั่ว ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า”จืน” มาก) และได้ตั้งพระยาเชิญเมือง เป็นผู้ครองนครขึ้นของเขลางค์นคร (ลำปาง) มีผู้ครองนครสืบต่อมาคือ พระยาหูหิ้น พระยายุธิฐิระมาหมื่นดังนคร พระยาหัวเมืองแก้ว ราวปีพุทธศักราช 2020 สงครามสงบพระยาหัวเมืองแก้วได้พาผู้คนย้ายจากเมืองเชียงชื่นมาตั้งใหม่ที่บ้านนาบ้านก่อน(บริเวณโรงเรียนห้วยอ้อปัจจุบัน) ราวปีพุทธศักราช 2030 ก็ได้ ย้ายเมืองใหม่อีกครั้งหนึ่ง มาตั้งที่เหล่าเวียง (ปัจจุบันคือบริเวณลำห้วยแม่กางบ้านนาจอมขวัญ) ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลับมาใช้ชื่อ “เมืองลอง” เหมือนเดิมต่อนั้นมามีผู้ครองเมือง คือ พระยาช้างแก้ว พระยาฟ้าป้อม พระยาฟ้าใหม่ ราวจนปี พุทธศักราช 2134 พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และเลยมาถึงเมืองลอง พระยาฟ้าป้อมและพระยาฟ้าใหม่ตายในสนามรบ เมืองลองแตกและว่างผู้ครองเมืองอยู่ระยะหนึ่ง ราวปี พุทธศักราช 2140 เจ้าผู้ครองนครลำปางได้ตั้งบุรุษผู้หนึ่งซึ่งอาสาจับช้างลายเสือนำไปถวายเจ้าเมืองลำปาง และตั้งให้เป็นเจ้าเมืองลองให้ชื่อว่า พระยาช้างปาน ครองเมืองลอง ต่อมาราวปี พุทธศักราช 2160 ได้มีเจ้าผู้ครองเมืองสืบต่อมาคือ พระยาครุธราช พระยาจอมหัวค่ำ พระยาขุนท่า พระยาชัย พระยาคำลิ่มราวปี พุทธศักราช 2318 พระยาคำลิ่มถึงแก่อสัญกรรม ไม่มีผู้ปกครอง ลำปางจึงให้พระยาชื่นสมบัติมาครองเมืองโดยมีผู้ครองเมืองสืบต่อกันมาตลอด เพราะเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนาจนตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดจนสืบมา จนกระทั่งปีพ.ศ. 2445 พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ เจ้าเมืองลองคนสุดท้าย ถูกพวกเงี้ยวฟันจนถึงแก่พิราลัยถือเป็นอันสิ้นสุดการปกครองแบบเจ้าเมือง เดิมอำเภอเมืองลองขึ้นกับนครลำปาง จนกระทั่งวันที่ 25 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2474 โอนอำเภอลองเข้ามาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่โดยแยกพื้นบางส่วนจัดตั้งเป็นอำเภอวังชิ้น และย้ายบ้านบ่อแก้วไปขึ้นกับอำเภอเด่นชัยจนถึงปัจจุบัน โดยมี ร.ต.อ.วิชิตชนบทวิบูลย์ (ทัศ สุชาเนนย์) เป็นนายอำเภอคนแรก[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอลองตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1023 เป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอลองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 93 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ อักษรไทย ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน จำนวนประชากร[2]
1. ห้วยอ้อ LN-Tambon-Huai O.png Huai O 14 4,283 12,398
2. บ้านปิน LN-Tambon-Ban Pin.png Ban Pin 13 2,599 7,833
3. ต้าผามอก LN-Tambon-Ta Pha Mok.png Ta Pha Mok 8 1,456 4,698
4. เวียงต้า LN-Tambon-Wiang Ta.png Wiang Ta 10 2,172 6,677
5. ปากกาง LN-Tambon-Pak Kang.png Pak Kang 9 1,372 4,258
6. หัวทุ่ง LN-Tambon-Hua Thung.png Hua Thung 9 1,760 5,925
7. ทุ่งแล้ง LN-Tambon-Thung Laeng.png Thung Laeng 12 2,460 7,265
8. บ่อเหล็กลอง LN-Tambon-Bo Lek Long.png Bo Lek Long 9 1,378 4,204
9. แม่ปาน LN-Tambon-Mae Pan.png Mae Pan 7 1,039 3,082

รายชื่อหมู่บ้านในแต่ละตำบล[แก้]

อำเภอลอง แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 93 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ ตำบล หมู่บ้าน หมู่ที่ หมายเหตุ
1 ห้วยอ้อ บ้านแม่เกี่ยม 1
บ้านแม่จองไฟ 2
บ้านนาแก 3
บ้านนาหลวง 4
บ้านนาจอมขวัญ 5
บ้านนาหม้อ 6
บ้านดอนทราย 7
บ้านห้วยอ้อ 8
บ้านขวางเปา 9
บ้านดอนมูล 10
บ้านแม่ลานเหนือ 11
บ้านแม่ลานใต้ 12
บ้านนาไผ่ 13
บ้านแม่ลานพัฒนา 14
2 บ้านปิน บ้านนาสาร 1
บ้านบ่อ 2
บ้านทุ่งตะกล้า 3
บ้านใหม่ 4
บ้านบน 5
บ้านผาคอ 6
บ้านห้วยแม่ต้า 7
บ้านหัวตะกล้า 8
บ้านแม่หีต 9
บ้านผาคัน 10
บ้านแม่หลู้ 11
บ้านก้องฝาย 12
3 แม่ปาน บ้านวังน้ำเย็น 1
บ้านแม่ปานนอก 2
บ้านแม่ปานใน 3
บ้านโคนป่าหิน 4
บ้านแก่งหลวง 5
4 หัวทุ่ง บ้านไผ่ล้อม 1
บ้านนามน 2
บ้านหัวทุ่ง 3
บ้านแม่จอก 4
บ้านเค็ม 5
บ้านนาอุ่นน่อง 6
บ้านนาอุ่นน่อง 7
บ้านเชตะวัน (หัวทุ่ง) 8
บ้านไผ่ล้อมพัฒนา 9
5 ปากกาง บ้านร่องบอน 1
บ้านปากกาง 2
บ้านท่าเดื่อ 3
บ้านวังเคียน 4
บ้านไฮสร้อย 5
บ้านปากปง 6
บ้านวังต้นเกลือ 7
บ้านท่าหลุก 8
บ้านหาดทรายคำ 9
6 บ่อเหล็กลอง บ้านนาตุ้ม 1
บ้านนาตุ้ม 2
บ้านนาตุ้ม (บ้านทุ่งเจริญ) 3
บ้านแม่ลอง 4
บ้านแม่แขม 5
บ้านค้างตะนะ 6
บ้านต้นม่วง 7
บ้านแม่รัง 8
บ้านนาตุ้ม 9
7 ต้าผามอก บ้านผามอก 1
บ้านน้ำริน 2
บ้านปง 3
บ้านเกี๋ยงพา 4
บ้านอิม 5
บ้านใหม่พม่า 6
บ้านม่วงเจริญ 7
บ้านศรีใจ 8
8 เวียงต้า บ้านแป้น 1
บ้านแหลง 2
บ้านม่อน 3
บ้านหัวฝาย 4
บ้านแหลง 5
บ้านผาลาย 6
บ้านหัวฝาย 7
บ้านเหล่าศรีภูมิ 8
บ้านสันติสุข 9
บ้านแสนทอง 10
9 ทุ่งแล้ง บ้านทุ่งแล้ง 1
บ้านทุ่งแล้ง 2
บ้านปากจอกตะวันออก 3
บ้านปากจอกตะวันตก 4
บ้านอ้ายลิ้ม 5
บ้านผาจั๊บ 6
บ้านวังเลียง 7
บ้านหาดผาคัน 8
บ้านใหม่ปากจอก 9
บ้านศรีดอนไชย 10
บ้านปากจอก 11
บ้านทุ่งทอง 12

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอลองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านปิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านปิน
  • เทศบาลตำบลห้วยอ้อ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยอ้อ
  • เทศบาลตำบลแม่ปาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ปานทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแม่ลานนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยอ้อ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลห้วยอ้อ)
  • เทศบาลตำบลเวียงต้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงต้าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปากกาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากกางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านปิน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านปิน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต้าผามอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวทุ่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งแล้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเหล็กลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเหล็กลองทั้งตำบล

การเดินทาง[แก้]

การเดินทางสู่อำเภอลองสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  1. ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1023 (ต่อเขตเทศบาลเมืองแพร่ควบคุม-วังชิ้น) ตรงจากตัวจังหวัดแพร่ หรือเดินทางด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อินทร์บุรี-เชียงใหม่) จากจังหวัดลำปางหรืออุตรดิตถ์ก่อนที่จะเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1023 ที่บ้านแม่แขม ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง
  2. เดินทางโดยรถไฟสายเหนือ ลงที่สถานีบ้านปิน ตำบลบ้านปิน แล้วนั่งรถโดยสารต่อเข้ามายังตัวอำเภอเป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

วัด สถานที่สำคัญ และ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของอำเภอลอง
สถานที่ ที่ตั้ง
วัดศรีดอนคำ (พระธาตุห้วยอ้อ) ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยอ้อ (ข้างตลาดห้วยอ้อ)
วัดสะแล่ง ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยอ้อ
วัดพระธาตุไฮสร้อย ตั้งอยู่ที่บ้านไฮสร้อย ตำบลปากกาง
วัดพระธาตุแหลมลี่ ตั้งอยู่ที่บ้านหาดทรายคำ ตำบลปากกาง
วัดพระธาตุปูตั๊บ ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งแล้ง
พุทธสถานถ้ำจักรพรรดิ ตั้งอยู่ที่บ้านอิม ตำบลผามอก
พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยอ้อ (ตรงข้ามโรงเรียนลองวิทยา)
บ้านศิลปินแห่งชาติ ประนอม ทาแปง ตั้งอยู่ที่บ้านไผ่ล้อม ตำบลหัวทุ่ง
สถานีรถไฟบ้านปิน “บาวาเรียนสไตล์” ตั้งอยู่ที่บ้านปิน ตำบลบ้านปิน
อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ตั้งอยู่ที่ตำบลต้าผามอก
ถ้ำเอราวัณและแก่งหลวง ตั้งอยู่ที่บ้านแก่งหลวง ตำบลแม่ปาน
  1. อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง มีที่ตั้งอยู่ที่ตำบลต้าผามอก บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1023 ในเขตอุทยานมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ สวนหินมหาราช ที่มีหินจำนวนมากมายผุดขึ้นมาจากพื้นดินในบริเวณเดียวกัน , ภูเขาหินปะการัง ,ถ้ำเสรีไทย ,ถ้ำแอร์ ,น้ำตกแม่อิม และเมืองโบราณ
  2. แก่งหลวงและถ้ำเอราวัณ ตั้งอยู่ที่บ้านแก่งหลวง ตำบลแม่ปาน โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยรถไฟลงที่สถานีแก่งหลวง หรือเดินทางโดยรถยนต์โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แล้วเลี้ยวเข้าถนนเข้าสู่บ้านแก่งหลวง แม่น้ำยมจะกั้นถ้ำเอราวัณออกจากตัวหมู่บ้าน ซึ่งการเดินทางไปชมถ้ำนั้นจะต้องข้ามแม่น้ำยมไปโดยทางแพหรือทางสะพานคนเดินที่สร้างไว้เพื่อความสะดวกของนักท่องเที่ยว ภายในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อย ซึ่งข้างในสุดจะมีหินที่มีลักษณะคล้ายเศียรช้างเอราวัณที่เป็นที่มาของชื่อถ้ำ

ชาวอำเภอลองที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1.  ส.ภ.ลอง .ความเป็นมาอำเภอลอง
  2.  จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดแพร่ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]