แหล่งเรียนรู้ » ชุมชนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการและพัฒนาต่อยอดชุมชนต้นแบบ

ชุมชนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการและพัฒนาต่อยอดชุมชนต้นแบบ

9 มีนาคม 2019
1194   0

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ

ตามนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ได้มอบนโยบายให้สำนักงาน กศน. ดำเนินการชุมชนต้นแบบตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และขยายผลไปยังระดับตำบล และให้สำนักงาน กศน. จังหวัดทุกแห่ง/กทม.ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาต่อยอดชุมชนต้นแบบทุกระดับสู่ความยั่งยืน

บ้านแม่ลานเหนือ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนตามแนวทางโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (03 : ชุมชนอยู่ดีมีสุข) ดำเนินกิจกรรมจากการรวมกลุ่มชุมชนที่มีความต้องการให้ชุมชนพึ่งตนเองได้มากที่สุด ซึ่ง กศน.อำเภอลอง ได้ใช้กระบวนการฝึกอบรมประชาชนตามความต้องการของชุมชน ให้ดำเนินชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนทำกิจกรรมการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อโฆษณาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ ทำให้ชุมชนสร้างงานสร้างรายได้ในชุมชน อย่างยั่งยืนภายใต้ผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมภูมิปัญญาสร้างรายได้

 

กศน.อำเภอลอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

หน้า

คำนำ

สารบัญ

รายละเอียดเนื้อหา

-ข้อมูลชุมชนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการและพัฒนาต่อยอดชุมชนต้นแบบ                         1

องค์ประกอบ 1 การบริหารจัดการชุมชนต้นแบบ                                                             1

– มีการรวมสมาชิกของชุมชนในรูปแบบของกลุ่มหรือบุคคล                                           1

– มีการคัดเลือกผู้นำชุมชน                                                                             1

– มีการจัดทำแผนการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ                                                  1

– มีครู กศน. ที่เป็นทีมขับเคลื่อนฯ ดูแล ให้คำแนะนำ                                                 1

– การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนในการบริหารจัดการ                                            2

– มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ในเรื่องตามความต้องการของชุมชน                2

องค์ประกอบ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนต้นแบบ                                                     3

– มีการจัดทำแผนการผลิต                                                                             3

– มีการส่งเสริมการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตเป็นสินค้าของชุมชน                                 3

– มีกระบวนการผลิตสินค้าตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด                                             3

– มีกระบวนการออกแบบ การบรรจุสินค้า ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด                           4

– มีการจัดการสอนด้านอาชีพเพิ่มเติมให้กับสมาชิกในชุมชนต้นแบบ                                  4

– การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน                                                                   5

– มีการใช้สื่อ และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และเป็นช่องทาง                        5

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน

องค์ประกอบ 3 การสร้างรายได้และการพัฒนาต่อยอด                                                       5

– มีการวางแผนการตลาดเพื่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์                                              5

– มีการจัดการสอนเกี่ยวกับการทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย ของสมาชิกในชุมชนหรือบุคคล          5

– มีการจัดทำทะเบียนรายชื่อผลิตภัณฑ์                                                                5

– มีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ในการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ            5

 

สารบัญ

 

– มีการนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนไปสู่สินค้าโอทอป หรือนำไปวางจำหน่ายในพื้นที่อื่นๆ               5

ภายนอกชุมชน

– มีการจัดทำรายงานการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน และเก็บข้อมูลพื้นฐาน                        6

– มีการใช้สื่อ และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และเป็นช่องทางการ          6

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน

องค์ประกอบ 4 การติดตามประเมินผลในชุมชนต้นแบบ                                                     6

– มีการติดตามผลการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ                                                   6

– มีการนำผลการดำเนินงานไปพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง                                            6

– จัดทำแบบประเมิน แบบสอบถาม                                                          7

          ข้อมูลชุมชนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการและพัฒนาต่อยอด                             7

-“บ้านแม่ลานเหนือ  หมู่ที่ 11 ตำบลห้วยอ้อ  อำเภอลอง   จังหวัดแพร่”

ภาคผนวก

ภาพกิจกรรม/การติดตามผลในพื้นที่                                                                   13

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลชุมชนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการและพัฒนาต่อยอดชุมชนต้นแบบ

 

องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการชุมชนต้นแบบ

  1. มีการรวมสมาชิกของชุมชนในรูปแบบของกลุ่มหรือบุคคล

          ชุมชนบ้านแม่ลานเหนือ คนในชุมชนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการระดมความคิด ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน การรวมกลุ่มของสมาชิกโดยส่วนใหญ่แล้วมีความต้องการในการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งร่วมกัน ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ประชาชนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มที่หลากหลาย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ กลุ่มเกษตรธรรมชาติ กลุ่มทำไม้กวาด กลุ่มทำไข่เค็ม กลุ่มน้ำดื่ม ซึ่งทุกกลุ่มล้วนเป็นผลิตภัณฑ์  ศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ  กศน.อำเภอลอง  เป็นต้น

 

  1. มีการคัดเลือกผู้นำชุมชน

          ผู้นำชุมชนบ้านแม่ลานเหนือ ที่ได้รับการคัดเลือกจากคนในชุมชน มีภาวะความเป็นผู้นำชุมชน มีซื่อสัตย์สุจริต เป็นแบบอย่างที่ดี รับฟังความคิดเห็นของชุมชน การจัดกิจกรรมส่วนใหญ่จึงได้รับความร่วมมือ ปฏิบัติหน้าที่ผู้นำชุมชนที่ดี โดยได้รับรางวัล เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ง.ช ได้รับเกียรติบัตรปราชญ์ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนสม่ำเสมอ

 

  1. มีการจัดทำแผนการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ

          ชุมชนบ้านแม่ลานเหนือ มีคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนรวมทั้ง ผู้ส่งเสริมภายนอกชุมชน ทั้งจากองค์กรท้องถิ่น จนท.อำเภอ เพื่อวางแนวทางการจัดทำแผนชุมชนมีการเตรียมความพร้อม “ข้อมูล” ได้แก่ จปฐ. กชช.2 ค ข้อมูลสภาพชุมชนอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ความพร้อมด้านทุนทางสังคม/ทุนทางเศรษฐกิจของชุมชน การเกษตร สาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ รวมทั้ง ชุมชนควรเก็บข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือน นำมาวิเคราะห์ร่วมกันทำแผนชุมชน โดยคนในชุมชนร่วมกันดำเนินการเอง มีการประสานประสานภาคีการพัฒนาทุกหน่วยงาน มาร่วมกันดำเนินการและบูรณาการแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนระดับตำบล นำไปประสานกับแผนพัฒนาท้องถิ่น อำเภอและจังหวัด เพื่อร่วมกัน/สนับสนุนดำเนินกิจกรรม มีการติดตาม สรุปบทเรียนและเผยแพร่ผลการทำงานของคนในชุมชน

 

  1. มีครู กศน. ที่เป็นทีมขับเคลื่อนฯ ดูแล ให้คำแนะนำ

กศน.ตำบล ในฐานะหน่วยงานแนวหน้าที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด เข้าร่วมเป็นทีมขับเคลื่อนฯ โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล ทำหน้าที่จัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานของตำบล โดยศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการ และกรอบหลักการในการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมใน การพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนทั้ง 10 เรื่อง   มีการศึกษาและทำความเข้าใจโครงการของสำนักงาน กศน. ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามกรอบหลักการฯ มีหน้าที่สร้างการรับรู้และปรับความคิดตามกรอบหลักการร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล ผ่านการจัดเวทีประชาคม ตลอดจนร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล จัดทำโครงการตามความต้องการ ของชุมชน พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ โครงการไทยนิยม ยั่งยืนระดับตำบล ไปยัง กศน.อำเภอ ทั้งนี้เพื่อการมีส่วนร่วม และให้ กศน. ในระดับพื้นที่ มีการบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อน แนวทางการปฏิบัติงานตามโครงการ ไทยนิยม ยั่งยืนของรัฐบาลครั้งนี้ ประสบความสำเร็จ และสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ รวมถึงพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืนและมั่นคงตาม Road Map ที่วางไว้ เพื่อการพัฒนาพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ได้แก่ การส่งเสริมการสร้างอาชีพ เช่น กรทำปุ๋ย การทำไม้กวาด การทอผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การพวงกุญแจนกฮูก  การทำกระเป๋าผ้าด้นมือ เป็นต้น

 

  1. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนในการบริหารจัดการ

สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน และพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบมีส่วนร่วมภายใต้หลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความร่วมแรงร่วมใจและจิตสำนึกของคนในชุมชนผ่านเวทีประชาคม มีการบริหารจัดการชุมชนร่วมกันคิดร่วมกันทำ ร่วมกันตัดสินใจ และรับผลประโยชน์ ร่วมถึงการประเมินผลโดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบต่อกันอย่างชัดเจน และร่วมกันรักษาคุณค่าทางสังคมที่ดีงามทำให้ชุมชนบ้านแม่ลานเหนือได้รับรางวัลหมู่บ้านต้นแบบประชาธิปไตยดีเด่น ชุมชนต้นแบบ(บ้านสวยเมืองสุข) ระดับอำเภอ รางวัลหมู่บ้านสะอาด ในระดับตำบล

 

  1. มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ในเรื่องตามความต้องการของชุมชน

          ชุมชนบ้านแม่ลานเหนือ เป็นชุมชนที่ตะหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเรียนรู้ของคนในชุมชน จึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ตามความต้องการของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั่งที่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนด้วยกัน จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถของคนในชุมชนให้ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับศักยภาพ วิถีชีวิตและบริบทของชุมชน ในการดำเนินงานที่ผ่านมา กศน.อำเภอลอง ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะด้านอาชีพผ่านโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งอาชีพ หลักสูตร หัตถกรรมผ้าพื้นเมือง จำนวน 50 ชั่วโมง เป้าหมายประชาชนในพื้นที่ 20 คน  การแกะลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณ (ลายซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง) จำนวน 50 ชั่วโมง เป้าหมายประชาชนในพื้นที่ 20 คน  การศึกษาเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ หลักสูตร การทำกระเป๋าย่ามจากผ้าหม้อห้อม จำนวน 40 ชั่วโมง เป้าหมายประชาชนในพื้นที่ 20 คน  และการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบกลุ่มสนใจ หลักสูตร การทำพวงกุญแจจากเศษผ้าหม้อห้อม จำนวน 30 ชั่วโมง เป้าหมายประชาชนในพื้นที่ 20 คน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน และเป็นการต่อยอดอาชีพสร้างรายได้เสริมให้กับประชาชนในชุมชน

         

 

 

 

 

 

องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนต้นแบบ

  1. มีการจัดทำแผนการผลิต

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนต้นแบบมีการวางแผนการผลิต เริ่มต้นด้วยความต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแกะลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลองจากทายาทของชุมชน  เพื่อเป็นต้นแบบ จากนั้นมีการพัฒนาโดยการนำผ้าตีนจกเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนหลากหลายโดยประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือ เช่น กระเป๋า พวงกุญแจ ของที่ระลึก

ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการวางแผนการจัดจำหน่ายในร้านค้าชุมชน ออกบูทร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ขายออนไลน์ ผ่านทาง เฟสบุ๊ค แฟนเพจ และ ไลน์ไอดี เมื่อมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าก็มีการแบ่งงานกันทำ เช่น แผนกทอผ้าตีนจก แผนกเย็บตัวกระเป๋า แผนกเย็บซิบ แผนกประกอบ

  1. มีการส่งเสริมการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตเป็นสินค้าของชุมชน เช่น

กลุ่มหัตถกรรม

  • นำผ้าตีนจกและผ้าหม้อฮ่อมมาทำเป็น ผ้าซิ่นตีนจก
  • นำผ้าตีนจกและผ้าหม้อฮ่อมมาประยุกต์เข้าด้วยกันทำเป็น กระเป๋าย่าม
  • นำผ้าตีนจกและผ้าหม้อฮ่อมมาทำเป็น พวงกุญแจ ของชำร่วย

ศูนย์เกษตรธรรมชาติ

  • นำมูลสัตว์(มูลวัว มูลสุกร) มาทำเป็นปุ๋ยอินทร์เพื่อใช้เป็นปุ๋ยและจำหน่าย
  • ผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตร
  • ใช้ดอกหญ้ามาทำเป็นไม้กวาดดอกหญ้า
  • มีผลิตภัณฑ์ “สินค้าเกษตรอินทรีย์” ปลอดสารพิษ
  1. มีกระบวนการผลิตสินค้าตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

กลุ่มหัตถกรรม

  • ผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมของบ้านแม่ลานเหนือมีการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ เลขที่ 6-54-03-01/1-0070

ศูนย์เกษตรธรรมชาติ

  • สินค้าทางการเกษตรได้รับการรับรอง มูลนิธิเอ็มโอเอไทย ว่าเป็นสินค้าเกษตรธรรมชาติปลอดสารพิษ
  • สินค้าเกษตรมีระบบควบคุมโรงเรือนแบบปิด และผ่านการรับรองว่าไม่มีสารตกค้างยาฆ่าแมลง กลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและกลุ่มคาร์บาเนต จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • มีระบบควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติ

 

  1. มีกระบวนการออกแบบการบรรจุสินค้า ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

กลุ่มหัตถกรรม

  • มีการออกแบบโลโก้ มีสติ๊กเกอร์ของผลิตภัณฑ์ บอกที่มาของผลิตภัณฑ์และคุณประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

 

 

 

 

รูปโลโก้เป็นรูประเบิด ครอบด้วยวัดศรีดอนคำ ฐานด้านล่างเป็นผ้าตีนจก

ศูนย์เกษตรธรรมชาติ

  • ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 

  1. มีการจัดการสอนด้านอาชีพเพิ่มเติมให้กับสมาชิกในชุมชนต้นแบบ
  • โครงการ Smart ONIE เพื่อสร้าง Smart Farmer เป็นการพัฒนาแกนนำกลุ่มอาชีพในชุมชน
  • โครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณี วัฒนธรรม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสังคมชุมชน โดยการศึกษาเรียนรู้จากหมู่บ้าน นวัตวิถี อ.ปัว จ.น่าน
  • โครงการอบรมพัฒนาสังคมชุมชนการเย็บกระเป๋าจากเศษผ้าทอ
  • โครงการอนุรักษ์ลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณและการแปรรูปให้เป็นของที่ระลึก(ลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง)
  • จัดการศึกษาต่อเนื่องรูปแบบวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตร 40 ชั่วโมง วิชาการทำกระเป๋าย่ามจากผ้าหม้อฮ่อม
  • จัดการศึกษาต่อเนื่องรูปแบบกลุ่มสนใจ หลักสูตร 30 ชั่วโมง วิชาการทำพวงกุญแจจากเศษผ้าหม้อฮ่อม
  • โครงการ 1 อำเภอ 1 อาชีพ หลักสูตร 50 ชั่วโมง วิชาพัฒนากระเป๋าจากเศษผ้าทอลายซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง
  1. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน
  • มีการรวมกลุ่มเพื่อประชุม วางแผน จัดตั้งกลุ่มสมาชิกให้เป็นรูปแบบวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ
  • ผู้นำชุมชนมีการสนับสนุน ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เป็นที่รู้จัก ทั้งในชุมชน นอกชุมชน ระดับอำเภอ จนถึงระดับประเทศ และมีหน่วยงานเครือข่ายสนใจมาดูงาน เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เกษตรจังหวัดแพร่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กศน.อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์  มูลนิธิเอ็มโอเอ (MOA)

 

  1. มีการใช้สื่อ และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้และเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน
  • กศน.อำเภอลองจัดโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลคอมเมิร์ซ) เพื่อแนะนำและสอนการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อช่วยการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า
  • ศึกษาและประดิษฐ์เครื่องรดน้ำอัตโนมัติเพื่อควบคุมในการรดน้ำ
  • มีโรงเรือนระบบปิด EVAP ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเครือข่าย

องค์ประกอบที่ 3 การสร้างรายได้และการพัฒนาต่อยอด

  1. มีการวางแผนการตลาดเพื่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

กระบวนการวางแผนการตลาด มีการวิเคราะห์สถานการณ์ การพิจารณาวัตถุประสงค์ทางการตลาด  การเลือกตลาดเป้าหมายและวัดขนาดความต้องการซื้อของตลาด ระดับชุมชน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด  การออกแบบส่วนประสมทางการตลาดและ  การจัดเตรียมแผนการตลาดและยังรวมถึงการโปรโมทสินค้าผ่านทางโซเชียลมีเดีย และออกบูธจำหน่ายสินค้าและแสดงสินค้า อาทิเช่น ออกบูธอำเภอเคลื่อนที่บูรณาการร่วมกับ กศน.อำเภอลอง,แสดงและจำหน่ายสินค้าร่วมกับ สำนักงานเกษตรอำเภอลอง, พัฒนาชุมชน, อำเภอลอง, หอการค้าจังหวัดแพร่

  1. มีการจัดการสอนเกี่ยวกับการทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ของสมาชิกในชุมชนหรือบุคคล

กศน.อำเภอลอง บูรณการร่วมกับอำเภอลองออกประชาคม เวทีไทยนำยม ยั่งยืน ให้ความรู้ในหัวข้อ วิถีไทยวิถีพอเพียง  สร้างความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างวินัยการออม ให้ความรู้การทำบัญชีรายรับจ่ายในครัวเรือนและกลุ่มผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ เพื่อให้ประชาชนพัฒนาเศรษฐกิจระดับครัวเรือน ระดับชุมชน การทำบัญชีครัวเรือนอย่างยั่งยืนได้ กลุ่มผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือได้นำเทคนิคและกระบวนการการทำบัญชีรายรับรายจ่ายมาปรับใช้ในกลุ่มอย่างเป็นระบบถูกต้องชัดเจนแม่นย้ำและเป็นปัจจุบันเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข้งและยั่งยืน

  1. มีการจัดทำทะเบียนรายชื่อผลิตภัณฑ์

มีบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าพื้นเมือง (พวงกุญแจจากเศษผ้าหม้อห้อม การทำกระเป๋าถุงย่ามจากลายผ้าซิ่นและลายผ้าห้อมห้อม กระเป๋าจากผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ  การแกะลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณ(ลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง  การทอผ้าซิ่นตีนจก)

 

  1. มีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ในการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ

1.) การแสดงผลงานชุมชนต้นแบบการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของสำนักงาน กศน.  ชุมชนต้นแบบ  หมู่ที่ 11 บ้านแม่ลานเหนือ  ตำบลห้วยอ้อ  อำเภอลอง  จังหวัดแพร่

2.) การแสดงผลงานผู้ประสบความสำเร็จโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชนประจำ กศน.จังหวัดแพร่ จากการขายออนไลน์ ประเภทผลิตภัณฑ์และหัตกรรมจากผ้าพื้นเมือง  โดยใช้ชื่อเพจ “ผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ”

3.) การแสดงผลงานกระเป๋าจากผ้าซิ่นโบราณ ในงานการประกวดกระเป๋าชาติพันธุ์ จัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ของภาคเหนือ (ล้านนาตะวันออก)

4.) มีการประชาสัมพันธ์ผ่าน Line Facebook และแฟนเพจFacebook โดยใช้ชื่อเพจ ผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ

 

  1. มีการนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนไปสู่สินค้าโอทอป หรือไปวางจำหน่ายในพื้นที่อื่นๆ ภายนอกชุมชน

กลุ่มผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือร่วมกันพัฒนา คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นสู่สากลให้เป็นที่เป็นต้องการของตลาด และได้จัดจำหน่ายสินค้าภายในชุมชนและภายนอกอาทิเช่น อำเภอเคลื่อนที่, ตลาดนัดชุมชนนววิถี, และการค้าออนไลน์

 

 

 

  1. มีการจัดทำรายงานการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน และเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐาน

กลุ่มผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างต่อเนื่อง และมีการรายงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์

 

7.มีการใช้สื่อ และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน

กศน.อำเภอลอง ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจดิจิทัลการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลคอมเมิร์ซ วันที่ 9-10, 11-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ณ ศูนย์ กศน.ตำบลปากกาง เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีให้กับชุมชน ให้ประชาชนมีการใช้สื่อออนไลน์ (Youtube, Google) และเครือข่าย Facebook การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อศึกษาเรียนรู้เทคนิค วิธีการ เพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้าชุมชน และเป็นการประชาสัมพันธ์พื้นที่ให้เป็นที่รู้จัก ทำให้สินค้าบ้านแม่ลานติดตลาดภายใน 9 เดือน และสามารถสั่งซื้อผ่าน แฟนเพจFacebook โดยใช้ชื่อเพจ ผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ

 

องค์ประกอบที่ 4 การติดตามประเมินผลในชุมชนต้นแบบ

 

  1. มีการติดตามผลการดำเนินงานชุมชนต้นแบบ

การติดตามผลการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ เป็นการติดตามและประเมินผลในส่วนของชุมชนเองที่ได้รับจากการประชุมร่วมกันทุกระยะ  และ กศน.อำเภอลองมีการติดตามผล โดยแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ  อย่างต่อเนื่องทุกกิจกรรม สม่ำเสมอทั้งในรูปแบบการสังเกต  สอบถาม ตลอดจน  มีการศึกษาแลกเปลี่ยนดูงานจากหน่วยงานอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และการนิเทศติดตามของสถานศึกษาต้นสังกัด

 

 

  1. มีการนำผลการดำเนินงานไปพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ชุมชนให้ความสำคัญกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา  และ กศน.ตำบล เข้าไปส่งเสริมให้ความรู้เพิ่มเติม  แนะนำวิธีการเป็นวิทยากรให้ความรู้ในชุมชน  สามารถขยายผลต่อยอดไปยังตำบลต่างๆที่ใกล้เคียง  และกระบวนการจัดกิจกรรมรองรับการศึกษาดูงาน  เช่น  คณะเจ้าหน้าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย  คณะสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภันฑ์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  กอ.รมน. จังหวัดแพร่  เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในการรองรับผู้เข้ามาศึกษาดูงาน  โดยใช้ผลผลิตในชุมชน  และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

  1. จัดทำแบบประเมิน แบบสอบถาม

ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบ  กศน.  ได้ใช้เครื่องมือตามคู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่อง และการอบรมประชาชน เพื่อการติดตามและประเมินผลในหลากหลายรูปแบบได้แก่  การสังเกต  การสอบถาม  และการใช้แบบสอบถาม  เพื่อประเมินความพึงพอใจของคนในชุมชน และนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดจากกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

 

ขอมูลชุมชนตนแบบที่มีการบริหารจัดการและพัฒนาตอยอด

“บ้านแม่ลานเหนือ  หมู่ 11  ตำบลห้วยอ้อ  อำเภอลอง  จังหวัดแพร่”

 

  1. โครงการหัตถกรรมภูมิปัญญาสร้างงานสร้างรายได้ ในชุมชนบ้านแม่ลานเหนือ

โครงการหัตถกรรมภูมิปัญญาสร้างงานสร้างรายได้ ในชุมชนบ้านแม่ลานเหนือเป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพโดยใช้กระบวนการฝึกอบรมประชาชน ได้แก่ โครงการ Smart Farmer เพื่อสร้าง Smart ONIE เป็นการพัฒนาแกนนำกลุ่มอาชีพในชุมชน โครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณี วัฒนธรรม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาสังคมชุมชน โดยการศึกษาเรียนรู้จากหมู่บ้านนวัตวิถี อ.ปัว จ.น่าน โครงการอบรมพัฒนาสังคมชุมชนการเย็บกระเป๋าจากเศษผ้าทอ โครงการอนุรักษ์ลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณและการแปรรูปให้เป็นของที่ระลึก(ลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง) การศึกษาต่อเนื่องรูปแบบวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตร 40 ชั่วโมง วิชาการทำกระเป๋าย่ามจากผ้าหม้อฮ่อม การศึกษาต่อเนื่องรูปแบบกลุ่มสนใจ หลักสูตร 30 ชั่วโมง วิชาการทำพวงกุญแจจากเศษผ้าหม้อฮ่อม โครงการ 1 อำเภอ 1 อาชีพ หลักสูตร 50 ชั่วโมง วิชาการทำกระเป๋าจากเศษผ้าทอ

 

  1. จุดเด่น

ชุมชนบ้านแม่ลานเหนือเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อาชีพส่วนใหญ่เป็น

เกษตรกรรมและทอผ้า กศน.อำเภอลองได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ การทำบัญชีครัวเรือน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม  ให้เกษตรกรสามารถพัฒนาตนเอง  ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์สินค้าด้านการเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์ และสามารถแสวงหาความรู้ติดตามข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ได้ สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ศูนย์เกษตรธรรมชาติตำบลแม่ลานเหนือเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมและขยายผลเพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่ง เรียนรู้ของตำบล ซึ่งในปัจจุบันศูนย์เกษตรธรรมชาติมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น เกษตร MOA มีการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง มีผู้มาศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากมาย

ด้านหัตถกรรมมีการอนุรักษ์ผ้าซิ่นลายถิ่นพญาเมืองลอง เพื่อให้เป็นหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาต่อยอดให้เป็นลายที่ทันสมัยและมีผลิตภัณฑ์หลากหลาย เช่น กระเป๋าย่าม พวงกุญแจ ของที่ระลึก มีการจำหน่ายทั้งในพื้นที่และทางออนไลน์

 

  1. วิธีดำเนินการ ยึดหลัก PDCA และปรัชญา “คิดเป็น

 

  • ชุมชน สถานศึกษาและหน่วยงานเครือข่าย วางแผนการดำเนินงาน กำหนดสภาพปัญหา ศึกษา

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยประสานงานกับผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายด้านการเกษตร

3.2 เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาและความต้องการของชุมชนจากข้อมูลเวทีไทยนิยม

3.3 จัดกิจกรรมสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนตามกระบวนการและแผนที่วางไว้ร่วมกัน

– กิจกรรมหลักสูตรระยะสั้น

– กิจกรรมพัฒนาสังคมชุมชน

– กิจกรรม Smart Farmer เพื่อสร้าง Smart ONIE

– กิจกรรมพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลคอมเมิร์ซ

3.4 ประเมิน ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนต่อไป

3.5 ถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนความคิด และเสนอความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา

 

  1. ปัจจัยป้อน

ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินโครงการสำเร็จมีหลายด้าน ทั้งในเรื่องของบุคลากร งบประมาณ สื่อ

วัสดุ อุปกรณ์ และการบริหารจัดการที่ต้องอาศัยภาคีเครือข่ายในชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

4.1 ด้านบุคลากร (Man) ชุมชน ครู กศน.และเครือข่าย มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการจากการวางแผนและประชุมรับนโยบายและสามารถประสานงานกับภาคีเครือข่ายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดสรรเวลา จัดหาวิทยากรที่มีความสามารถความเหมาะสมของสถานที่ศึกษาดูงาน ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า

4.2 ด้านงบประมาณ (Money) บริหารงบประมาณตามภารกิจ กศน.ตำบล ที่ หน่วยงานเครือข่ายท้องถิ่น และสำนักงาน กศน.จังหวัดแพร่ จัดสรรในการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับชุมชนในพื้นที่ให้สามารถพัฒนาตนเองสร้างรายได้และสามารถมองเห็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ การขายสินค้าในชุมชนผ่านสื่อออนไลน์โดยอาศัยเครือข่ายเน็ตประชารัฐที่ให้บริการในพื้นที่

4.3 สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ (Material) ใช้คู่มือการอบรมประชาชนของสำนักงาน กศน. แนวทางการฝึกอบรมโครงการ Smart Farmer เพื่อสร้าง Smart ONIE ,แนวทางการจัดโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและแนวทางใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลคอมเมิร์ซ เรียนรู้ภาคทฤษฏี และเป็นแนวทางในการฝึกอบรม ทั้งนี้ได้เรียนรู้ในสถานที่จริงของศูนย์เกษตรตำบล ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่ครบวงจร การวางแผนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่สามารถพัฒนาเป็นแนวคิดและต่อยอดอาชีพอย่างยั่งยืน

4.4 ด้านการบริหารจัดการ (Management) ตามนโยบายของรัฐบาล สำนักงาน กศน. โดยชี้นำให้เกษตรกรไทยต้องเป็น Smart Farmer ซึ่งต้องมีองค์ความรู้ หลักวิชาการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ต้องทำให้น้อยลง ได้ผลผลิตที่มากขึ้น ซึ่งตรงกับความต้องการของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มหัตถกรรม ในพื้นที่ หมู่ 11 บ้านแม่ลานเหนือ ที่ต้องการพัฒนาตนเอง โดยประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้ง กศน.อำเภอ ผู้นำชุมชน นักวิชาการเกษตรประจำตำบล และปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความชำนาญด้านการเกษตร รวมถึงแหล่งเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านแม่ลานเหนือ ที่ให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องของสถานที่ศึกษาดูงาน ให้ประชาชนได้เรียนรู้จากสถานที่จริงซึ่งเป็นการจุดประกายความคิด และสร้างแรงผลักดันให้กับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนผังแนวทางการดำเนินโครงการ

Input

1.       ประชาชน บุคลากร วิทยากรและเครือข่ายมีความรู้ความสามารถ

2.       งบประมาณตามที่ได้รับจัดสรรตามภารกิจ กศน.ตำบล

3.       สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ได้จากพื้นที่และวิทยากรบางส่วน

4.       การบริหารจัดการ จัดกิจกรรมตามแนวทางการจัดฝึกอบรมและการศึกษาต่อเนื่องแนวทางการฝึกอบรมโครงการ Smart Farmer เพื่อสร้าง Smart ONIE แนวทางการจัดโครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลคอมเมิร์ซ)

 

Input
Process

โดยใช้กระบวนการ PDCA

– วางแผน (P) เพื่อกำหนดสภาพปัญหาจากเวทีไทยนิยมยั่งยืน

– การดำเนินการ (D) ตามกระบวนการฝึกอบรมและการจัดการศึกษาต่อเนื่อง

– การประเมินผล (C) โดยใช้แบบฟอร์มที่กำหนดเพื่อทราบปัญหา

-การพัฒนา (A) นำผลที่ได้จากการประเมินต่อยอดผลิตภัณฑ์และเติมเต็ม

 

Process
Output

ชุมชนบ้านแม่ลานเหนือสามารถสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์เกษตรธรรมชาติและหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนืออย่างต่อเนื่องและสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้

Output
Feedback

 

จากการประเมินผล พบว่า ชุมชนมีความพึงพอใจและมีแรงผลักดันในการสร้างรายได้ในชุมชน และยังมีความต้องการพัฒนาต่อยอดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และขยายผลกิจกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง

Feedback

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       เงื่อนไข ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

  • ชุมชน สถานศึกษา เครือข่าย ร่วมแรงร่วมใจ
  • การบริหารรายได้ของกลุ่ม มีความเป็นธรรม และเพียงพอ เช่น ร่วมกันกำหนดรายได้ตามส่วนประกอบของชิ้นงาน ที่ แบ่งกันทำ
  • ทำให้ลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่นกลับมา บ้านเกิด เนื่องจากรายได้ในชุมชนเพียงพอ จากโครงการนี้
  • ชุมชนร่วมกันวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน (P) ในการทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์และตระหนัก (D)
  • มีการประเมินการจัดกิจกรรมและผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยการประชุม พูดคุย แบบสอบถาม สัมภาษณ์ (C)
  • มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีหลากหลายตอบโจทย์ได้ มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทางในการจำหน่าย (A)
  1. ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด และแนวทางการแก้ไข
  • ไม่สามารถผลิตสินค้าบางชนิดได้ตามจำนวนและความต้องการของยอดสั่งซื้อ ในบางครั้ง จึงต้องขยายและให้ความรู้แก่ชุมชนใกล้เคียงในตำบลเดียวกัน เช่น ตำบลบ้านปิน

 

  1. ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น
  • จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน
  • มีการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างรายได้ให้กับชุมชนหลายช่องทาง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           ภาคผนวก

 

 

 

 

 

  เริ่มต้นการอนุรักษ์ หัตถกรรม ภูมิปัญญา เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ในชุมชน

  เมื่อเดือน  กรกฎาคม พ.ศ. 2561

มีการวางแผน ประชุมพูดคุยเกี่ยวกับ  การแกะลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณ  (ลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง) ซึ่งตกทอดสู่ทายาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการอบรมการจัดการศึกษาต่อเนื่อง  รูปแบบชั้นเรียนระยะสั้น  ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 1 อำเภอ 1 อาชีพ  วิชาการแกะลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณ (ลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง) 

        หลักสูตร 50  ชั่วโมง  กศน.ตำบลห้วยอ้อ   ประจำปีงบประมาณ  2561

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง

วันที่ 11 – 21  เดือน  กรกฎาคม พ.ศ. 2561

 ณ บ้านเลขที่ 145/1  ม.11  ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่

 วิทยากร  นางแสงเงิน  ปัญญาดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับผ้าซิ่นต่างๆ  ณ โฮงเจ้าฟองคำ   ร้านฝ้ายเงิน  จังหวัดน่าน  โครงการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้  เพื่ออนุรักษ์ลายผ้าซิ่นตีนจกโบราณ (ลายผ้าซิ่นถิ่นพญาเมืองลอง)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง  วิชาชีพรูปแบบกลุ่มสนใจ  วิชาการทำพวงกุญแจจากเศษผ้าหม้อห้อม หลักสูตร 30 ชั่วโมง  กศน.ตำบลห้วยอ้อ   ประจำปีงบประมาณ 2561

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง

วันที่ 18 – 23  เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2561

ณ บ้านเลขที่  137/1  ม.11  ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่

วิทยากร  นางหทัยรัตน์  ขันแก้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                 วิชาการทำพวงกุญแจจากเศษผ้าหม้อห้อม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  ต่อยอดขยายผลเป็นโครงการพัฒนาสังคม ชุมชน การอบรมส่งเสริม กระบวนการคิดต่อยอดให้เกิดรายได้ในชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง  รูปแบบวิชาชีพชั้นเรียน  

วิชา  การทำกระเป๋าย่ามจากผ้าหม้อฮ่อม   หลักสูตร  40  ชั่วโมง

กศน.ตำบลห้วยอ้อ   ประจำปีงบประมาณ 2562

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลอง

วันที่  23 – 30  มกราคม  2562

ณ  ศาลาประจำหมู่บ้าน (บ้านดอนทราย) หมู่ที่ 7  ตำบลห้วยอ้อ  อำเภอลอง  จังหวัดแพร่ 

วิทยากร  นางหทัยรัตน์  ขันแก้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประยุกต์ การทำกระเป๋าย่ามจากผ้าหม้อฮ่อม  และผ้าตีนจก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                    ประยุกต์ การทำกระเป๋าย่ามจากผ้าหม้อฮ่อม และผ้าตีนจก 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                   ประยุกต์ การทำกระเป๋าย่ามจากผ้าหม้อฮ่อม และผ้าตีนจก 

คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ที่ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  จากการประกวด ผลิตภัณฑ์ งานชาติพันธ์ ภาคเหนือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มีหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนศึกษาเรียนรู้

  • คณะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จังหวัดแพร่  เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2561
  • คณะกศน.อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561
  • คณะกลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านแม่ลานเหนือ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2561
  • คณะกศน.อำเภอเมืองแพร่ จังหวัด แพร่ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561
  • คณะเจ้าหน้าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม  2561
  • คณะสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เมื่อวันที่  29 ตุลาคม 2561
  • คณะกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลบ้านปิน เมื่อวันที่ 17  ธันวาคม 2561

 

จัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่าย

  • กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
  • เกษตรอำเภอ
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กรมการพัฒนาชุมชน

 

การนิเทศติดตามผล

  • หน่วยงานต้นสังกัด
  • สำนักงาน กศน.จังหวัดแพร่ โดยนางมีนา  กิติชานนท์ รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดแพร่
  • กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
  • กศน.อำเภอลอง จังหวัดแพร่  โดยนางสาวรติรัตน์   อินต์ธะวิชัย  ผู้อำนวยการ  กศน.ลอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ช่องทางการจำหน่าย    หน้าร้านออนไลน์     www.facebook.com/Maelan 11/

Link การเข้าร่วมกลุ่ม OOCC ของประชาชน http://dmis.nfe.go.th/dmis/person/market.php

Link ช่องทางการค้าออนไลน์อื่น ๆ https://www.facebook.com/profile.php.id=100008022006186

ประเภทสินค้า/บริการ…ผลิตภัณฑ์และหัตกรรม งานฝีมือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปสินค้า/บริการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจุบัน สามรถสร้างงาน สร้างรายได้ ในชุมชน ภายใน  8 เดือน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อความการสั่งจอง ซื้อขายออนไลน์ในเพจ

 

 

 

 

 

คณะผู้จัดทำ

 

ที่ปรึกษา

  1. นายปัณณพงศ์ ท้าวอาจ                 ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดแพร่
  2. นางมีนา กิติชานนท์                    รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดแพร่
  3. นางสาวรติรัตน์ อินต์ธะวิชัย            ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอลอง

 

คณะผู้จัดทำเอกสาร

  1. นางสาวรติรัตน์ อินต์ธะวิชัย            ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอลอง
  2. นางสาวรัชนีกร พิมสาร                 ครูผู้ช่วย
  3. นางสาวลัดดาวัลย์ ซุ่นฮะ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน
  4. นางสาวสิริลักษณ์ เป็งคำ               ครูกศน.ตำบล
  5. นางขวัญวลี วงศ์ดาว ครูกศน.ตำบล
  6. นางสาววิยดา เกตุเอี่ยม ครูกศน.ตำบล
  7. นายตรียุทธ จำปาอูป                   ครูกศน.ตำบล
  8. นายวิสรุต นาจรัส ครูกศน.ตำบล
  9. นายภาสกร ถาเงิน                      ครูกศน.ตำบล
  10. นางสาวมินตรา ไชยชนะ                ครูกศน.ตำบล
  11. นายยุทธนา ปัญญาใจ ครูกศน.ตำบล
  12. นายจตุรงค์ เขียวมณีวรรณ           ครูกศน.ตำบล
  13. นายรัชตะ จิตรบุณย์ บรรณารักษ์
  14. นางสาววิภาวรรณ นันต๊ะนา            บรรณารักษ์
  15. นายอิทธิกร กันทะสอน เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล