วันนี้จะพาไปชื่นชมศิลปินเมืองลองที่ช่วยกันรักษาศิลปะวัฒนธรรมล้านนาของเราแล้วสืบต่อให้กับคนรุ่นลูกรุ่นหลาน
ที่แรกเลยจะพาไปเยี่ยมชมบ้านศิลปินแห่งชาติ บ้านแม่ประนอม ทาแปง ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ปราณีตศิลป์-ศิลปะผ้าทอ) ประจำปี พ.ศ.2553 ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้การทอผ้าตีนจก เป็นร้านขายผ้าทอหลากหลายรูปแบบ อยากได้ของฝากสวยๆมาดูที่นี่ได้ค่ะ
แม่ประนอมถือเป็นบุคคลสำคัญของเมืองลอง ท่านทำงานด้านผ้าซิ่นตีนจกมานานนับตั้งแต่ปี 2522 เมื่อคราวสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนจังหวัดแพร่ แม่ประนอม ได้นำผ้าทอตีนจกทูลเกล้าฯ ถวาย หลังจากนั้น คณะผู้แทนพระองค์ ได้เดินทางมาพบแม่ประนอม เพื่อมอบทุนดำเนินการให้จัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าซิ่นขึ้นและพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติจากการที่มีผลงานอนุรักษ์และพัฒนาผ้าทอตีนจกต่อเนื่องมายาวนาน ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวเมืองลอง เป็นคนที่ช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้กับผู้หญิงเมืองลอง แม่ของฉันก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ได้เรียนรู้การทอผ้าจากแม่ประนอมและยังคอยช่วยงานท่านทุกครั้งเมื่อมีโอกาส
หากสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการทอผ้าตีนจก ดูสาธิตขั้นตอนกว่าจะเป็นผ้าทอ ต้องติดต่อล่วงหน้า ได้ที่เบอร์ โทร : 054-583443 หรือ facebook: https://www.facebook.com/thapaengpranom
นอกจากดูสาธิตการผลิตผ้าทอแล้ว ชั้นบนของบ้าน แม่ประนอมยังได้รวบรวมผ้าทอลวดลายต่างๆ เก็บไว้เป็นพิพิธภัณฑ์
ส่วนชั้นล่างก็จะเป็นผ้าทอสวยๆ ให้เลือกซื้อไปเป็นของฝากหรือจะลองหาผ้าซิ่นสวยๆสักผืนไว้ใส่เองก็เลือกได้ตามชอบเลยค่ะ
และอีกไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งก็คือผ้าทอตีนจกโบราณ ลายโคมช่อน้อยตุงชัยที่ยาวที่สุดในโลก และยังคงทอต่อไปเรื่อยๆ ด้วยกี่ทอผ้าหลังเล็กๆกระทัดรัดที่สามารถถอดเก็บและประกอบได้ แม่ประนอมมักใช้ไว้ไปสาธิตการทอผ้าในงานออกร้านตามต่างจังหวัด
เห็นแล้วอยากแต่งชุดพื้นเมืองนุ่งผ้าซิ่นตีนจกงามๆ ผ่องก่อเจ้า
ซึงหลวงขนาดไหนดูจากไซส์เอาได้ค่ะ
พี่บอมที่เป็นเจ้าของโฮงซึงแห่งนี้เป็นศิลปินที่อยากสืบทอดรักษาดนตรีพื้นเมืองให้อยู่คู่กับคนเมืองต่อไป ที่โฮงซึงนี้จึงไม่ได้เป็นแหล่งผลิตดนตรีพื้นเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ดนตรีพื้นบ้านล้านนาให้กับเด็กรุ่นต่อไปด้วย สถาบันไหนสนใจหรืออยากเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้พี่บอม 0897591279, 0857138021
และที่อยู่ใกล้ๆกับโฮงซึงหลวง เราจะพาไปชมร้านผ้าพื้นเมืองชาวเขา “บ้านผ้า-ปา-ญอ” ร้านที่เกิดจากความรักความหลงใหลในผ้ากะเหรี่ยงของพี่โด เจ้าของร้าน ที่บอกว่าร้านนี้ไม่ได้เน้นทำธุรกิจการค้าแต่เน้นที่ได้อนุรักษ์ได้เก็บผ้าทอพื้นเมืองเหล่านี้ พี่โดเล่าให้ฟังว่าเริ่มแรกต้องเข้าไปหาชาวเขาที่อาศัยอยู่แถบอ.ลอง-อ.วังชิ้น ไปทำความรู้จักทำความคุ้นเคยกับชาวเขาจนเขายอมทอผ้าส่งให้พี่โด ผ้าร้านนี้จึงเป็นฝีมือของชาวเขาจริงๆ ที่ตอนนี้จะหาแม่อุ้ยที่ทอได้แบบดั้งเดิมจริงๆ เหลือแค่ไม่กี่คนแล้ว ใครชอบผ้าทอกะเหรี่ยงที่ตอนนี้ฮิตใส่กัน ถ้าได้มาเห็นผ้าทอของพี่โดแล้วต้องชอบอย่างแน่นอน เพราะของที่นี่การันตีด้วย OTOP 5 ดาวเลยนะคะ
เสื้อกะเหรี่ยงปักลูกเดือยแบบโบราณ ของเก่าจริงที่ประมูลค่าไม่ได้
เสื้อกะเหรี่ยงสวยๆปักลูกเดือยด้วยมือแบบนี้ดัดแปลงมาจากของแบบดั้งเดิมที่ขาวเขาใส่กัน เน้นใช้สีจากธรรมชาติ และมีการปรับนิดหน่อยให้ดูร่วมสมัยมากขึ้น พี่โดเล่าเรื่องราวผ้าทอชาวเขา ลวดลาย รูปแบบการใช้งานมากมายให้เราฟังด้วยใจรัก สัมผัสได้เลยว่าผู้หญิงคนนี้ทำร้านนี้ด้วยใจจริงๆ
มีโอกาสไปเที่ยวเมืองลองต้องแวะไปเยี่ยมชมร้านนี้กันนะคะ แวะเข้าไปดูผ้าสวยๆ ได้ใน facebook Ban Pha Pa-yau https://web.facebook.com/puttarat.jaithengtrong?fref=ts
หรือติดต่อพี่โดโดยตรงได้เลยค่ะ
นั้นก็คือ หนมเส้นน้าย้อย หรือขนมจีนเส้นสดที่บีบแป้งลงต้มกันสดๆ ล้างน้ำเย็น ขั้นตอนการล้างน้ำเย็นแล้วบีบเอาน้ำออกจึงมีน้ำไหลย้อยลงมาตามเส้น เลยเป็นที่มาของชื่อขนมจีนน้ำย้อย ทานคู่กับน้ำพริกน้ำย้อยเคียงกับผักลวก แคบหมู แคบไก่ ลำแต้ๆ เจ้า
ในเมืองลองมีร้านขายหนมเส้นน้ำย้อยหลายร้านมาก แต่ละร้านก็จะมีความแตกต่างกันไปที่สูตรหมักแป้งขนมและน้ำพริกน้าย้อย แต่วันนี้จะพาไปทานร้านดังที่ยังอนุรักษ์การบีบเส้นด้วยมือไม่ใช้เครื่อง ที่ร้านขนมจีนน้ำย้อยบ้านแม่ลานกันค่ะ
ที่นี่มีก็จะมีน้ำเงี้ยว น้ำใส ผักลวก แคบหมูให้กินคู่กันค่ะ
วิธีการกินก็ง่ายๆ แค่ใส่น้ำพริกน้ำย้อย ใส่ซีอิ๊ว น้ำปลาแล้วคลุกให้เข้ากันค่ะ กินคู่กับเครื่องเคียงต่างๆ ตามชอบ หิวขึ้นมาเลยทีเดียว
กินขนมจีนเสร็จแล้ว หากจะหาซื้อของกินของฝาก แนะนำให้ไปหาซื้อในตลาดสดห้วยอ้อ มีร้านไส้อั่ว แคบหมูหลายเจ้าให้เลือกซื้อหา
แต่ถ้าเป็นร้านประจำของเราก็นี่เลยค่ะ
แคบหมูอัมพา
ไส้อั่วอาบุญ
และที่ขาดไม้ได้ทุกครั้งที่กลับบ้านจะต้องซื้อกลับมาฝาก น้องๆที่ทำงานก็คือ ข้าวกั้นจิ้นลุงจง ที่ขายกันมานานกว่า 20 ปี กินตั้งแต่อยู่ประถม ถึงตอนนี้ก็ยังขายอยู่ราคาเดิม ห่อละ 5 บาทเท่านั้น
ข้าวสวยคลุกเลือดกับหมูสับห่อใบตองแล้วเอาไปนึ่ง กินคู่กับหอมเจียวกับพริกทอด ลำแต้ๆเจ้า
ยังมีร้านอร่อยอีกหลายร้าน รวมถึงที่เที่ยวที่น่าสนใจในเมืองลองอีกหลายแห่ง กลับบ้านครั้งหน้าหากมีโอกาสจะกลับมาแนะนำเพิ่มอีกนะคะ
หวังว่าเดินทางขึ้นเหนือครั้งหน้า ไปเที่ยวแพร่-น่าน เที่ยวลำปาง ลองแวะมาแอ่วเมืองลองสักครั้ง แล้วจะหลงฮัก “เมืองลอง”
เมืองเล็กกลางขุนเขา เมืองเก่าที่ยังรักษาศิลปะวัฒนธรรม วีถึชีวิตคนล้านนา เก็บคุณค่าให้คนรุ่นหลังสืบไป
…งามพระธาตุล้ำค่า ส้มพุทรารสเลิศ
แหล่งกำเนิดผ้าตีนจก มรดกสวนหิน
ถิ่นคนเมืองลอง…
และยิ่งหาข้อมูลไปเรื่อยๆ เรารู้สึกว่าเมืองเล็กๆ แห่งนี้มีอะไรที่พิเศษซ่อนอยู่เยอะเลย ทั้งเป็นเมืองเก่าแก่ยาวนานประดุจแคว้นเล็กๆ ในหุบเขาที่มีเมืองบริวารล้อมรอบ ปัจจุบันแม้จะเป็นเพียงอำเภอหนึ่ง แต่เป็นเมืองที่พัฒนาตัวเองได้แบบยั่งยืนมาก ถ้ามองจากstreet view จะเห็นว่าถนนหนทางในตัวเมืองดูสะอาดตาเรียบร้อยกว่าหลายๆ เมืองมาก จริงชุมชนในภาคเหนือขึ้นชื่อเรื่องเมืองสะอาดเรียบร้อยอยู่แล้ว แต่เมืองลองดูโดดเด่นเป็นพิเศษ (ในสายตาเราที่ชอบส่องแผ่นที่เป็นประจำ) อีกอย่างโรงเรียนมัธยมของอำเภอเล็กๆ แห่งนี้มาตรฐานจัดว่าดีมาก เทียบกับอำเภออื่นๆ
อวยสุดๆ ช่วยโปรโมตให้ จขกท. แล้วมีโอกาสจะไปเยือนเมืองลองแน่นอน
เมืองเราพยายามพัฒนาทั้งด้านวิทยาการใหม่ๆ แต่ไม่ลืมรักษาของเก่าที่ดีๆไว้ ต้องขอบคุณคนสำคัญในอำเภอที่ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ค่ะ เวลาที่กลับบ้านแล้วเห็นเด็กทอผ้า ฟ้อนเล็บ เล่นสะล้อซอซึงได้ก็ชื่นใจที่ของดีๆของล้านนาเราจะไม่สูญหายไป
หากมีเวลาได้ไปเที่ยว แนะนำตั้งแต่หน้าฝน – หน้าหนาวค่ะ อากาศดีมาก
http://www.tudsinjai.com/photos/album/travel/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/
[CR] ลองมาแอ่ว แล้วจะฮัก “ลอง”
การจะเดินทางมาเมืองลองวิธีที่ง่ายและคลาสสิคที่สุดก็คือการนั่งรถไฟมาลงที่สถานีบ้านปิน แนะนำให้นั่งขบวน 51 ที่ออกจากกรุงเทพตอน 4 ทุ่ม และจะมาถึงเมืองลองประมาณ 8 โมงเช้า นอนหลับยาวๆ พอเริ่มเช้าเลยจากสถานีเด่นชัยมา ก็จะเริ่มผ่านขุนเขาป่าไม้ มีแม่น้ำยมไหลผ่านเกาะแก่ง ช่วงหน้าน้ำหลากแม่น้ำยิ่งเชี่ยวกรากเป็นแก่งหลวงให้เที่ยวแบบผจญภัยล่องแก่งกัน แต่สำหรับปลายฝนต้นหนาวช่วงเดือนตุลาคม เราจะเห็นสายหมอกตอนเช้า กับทุ่งนาเขียวขจีที่กำลังตั้งท้องเตรียมออกรวงสลับกับป่าเขาและสวนผลไม้ การได้ยื่นหน้าออกมารับบรรยากาศเย็นสดชื่นตรงหน้าต่างรถไฟเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ฉันทำทุกครั้งที่กลับบ้านด้วยรถไฟ
ชื่นชมธรรมชาติข้างทางเพลินๆ เราก็จะถึงสถานีรถไฟบ้านปิน สถานีรถไฟที่มีสถาปัตยกรรมแบบเฟรมเฮาส์ สไตล์บาวาเรียนของเยอรมันที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 สถานีรถไฟบ้านปินจึงเป็นอีกหนึ่ง check point ที่นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายรูปกัน
กลับบ้านครั้งนี้เพื่อมาทำบุญใหญ่ “ตานก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัตรของชาวล้านนาที่ยังรักษาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และขอเป็นเจ้าบ้านพาคนกรุงเที่ยวเมืองเล็กๆ ที่จะทำให้คุณหลงรักแล้วอยากกลับมาอีก
เริ่มต้นที่แรกเลยก็ต้องไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ชาวเมืองลองเคารพศรัทธา “พระธาตุศรีดอนคำ” ที่วัดศรีดอนคำหรือวัดห้วยอ้อ
พระธาตุศรีดอนคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ก่อสร้างเมื่อครั้งที่พระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ล่องลำน้ำมาเพื่อจะขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน แต่แทนที่จะตามลำน้ำปิงขึ้นไปกลับมาทางแยกขึ้นตามลำน้ำยมหลงมาขึ้นบกที่บ้านปากลอง จากการที่พระนางจามเทวีทรงตรัสว่า “ลองขึ้นไปก่อนเถอะ” คำว่า “ลอง” ที่พระนางจามเทวีทรงตรัสขึ้นมานั้นจึงถูกนำมาเรียกชื่อเมืองใหม่ว่า “เมืองลอง” จึงเป็นที่มาของเมืองลองมาจนถึงปัจจุบัน พระนางจามเทวีจึงเป็นอีกหนึ่งที่คนเมืองลองเคารพศรัทธา มีอนุสาวรีย์ให้กราบไหว้บูชา
ภายในวัดศรีดอนคำก็จะมีพิพิธภัณฑ์พระเจ้าพร้าโต้และพระเจ้าไม้พันองค์ให้แวะเยี่ยมชม
ออกจากพิพิธภัณฑ์ก็จะมีหอไตร สถาปัตยกรรมล้านนา ที่เป็นแหล่งรวบรวมตำนาน พระพุทธรูปเก่าแก่ ตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ
และที่ขาดไม่ได้คือต้องมาดูระฆังลูกระเบิด ที่มาที่ไปของคำว่า “เมืองแพร่แห่ระเบิด” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่มีการทิ้งระเบิดทางรถไฟ แต่ระเบิดมันไม่ระเบิด มีชาวบ้านไปเจอเข้าจึงนำเข้ามาถวายวัด ตลอดเส้นทางที่จะมาถึงวัดก็มีชาวบ้านมาช่วยกัน ร้องเพลงแห่แหนเข้ามาถวายวัด ก็เลยเป็นคำที่คนแพร่จะต้องถูกล้อเลียนเรื่อยมา และดัดแปลงเรื่องราวให้ขำขันเข้าใจผิด ว่าคนแพร่โง่เง่าเอาระเบิดมาแห่จนโดนระเบิดตาย สมัยวัยรุ่นเวลาที่ถูกล้อเลียนแบบนี้จะรู้สึกหงุดหงิดไม่ชอบใจ แต่ไม่รู้จะไปเถียงเขายังไง จนเมื่อได้รับรู้ประวัติศาสตร์เรื่องราวจริงๆ กลับทำให้เราภูมิใจในภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน ที่เอาระเบิดที่ด้านมาเอาดินปืนออกแล้วทำให้เป็นระฆัง และเป็นระฆังที่เสียงใสดังกังวาล มีโอกาสมาเมืองลองต้องมาตีระฆังให้ดังระเบิดกันนะคะ
ปัจจุบันระฆังระเบิดในอ.ลอง มีอยู่ทั้งหมด 3 ลูก ที่วัดศรีดอนคำแห่งนี้ ที่วัดดงลานและวัดนาตุ้ม ออกจากวัดศรีดอนคำ เราไปตามรอย เมืองแพร่แห่ระเบิดกันต่อที่ ร้านกาแฟแห่ระเบิด ใกล้ๆ กับสถานีรถไฟบ้านปิน
ร้านกาแฟที่ไม่ใช่แค่มีกาแฟอร่อย ยังมีเรื่องเล่า เมืองแพร่แห่ระเบิด ร่องรอยเมืองโบราณ ที่พี่เจ้าของร้านภูมิใจและเต็มใจเล่าให้เราฟัง
ใครชอบงานศิลป์ ก็มีผลงานศิลปะให้เสพคู่กับกาแฟ แถมบรรยากาศร้านก็น่านั่ง ต้นไม้ร่มรื่นนั่งจิบชากาแฟเพลินๆ ไปค่ะ
ออกจากร้านกาแฟ เราไปต่อกันที่พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ ใครเคยดูละครเรื่องรอยไหม มาตามรอยละครหาดูเสื้อผ้าที่เจ้านางน้อยใส่ได้ที่นี่
เจ้าของที่นี่คือ อ.โกมล พานิชพันธ์ บุคคลสำคัญของเมืองลอง ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการผ้าโบราณมานาน เป็นที่ปรึกษาเรื่องการแต่งกายแบบล้านนาให้กับละครหลายเรื่อง เรื่องที่เด่นๆ ก็คือ รอยไหม และเรื่องล่าสุด นาคี อาจารย์ชอบและสะสมผ้าตีนจกเก่าที่ขอบูชามาจากแม่อุ้ยไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดู เข้ามาในพิพิธภัณฑ์ ก็จะได้เห็นผ้าทอสวยๆใครชอบผ้าทอต้องมาที่นี่เลยค่ะ หากโชคดีเจออาจารย์ ท่านจะพาเดินชมและเล่าเรื่องราวด้วยตัวท่านเองเลย
นอกจากพิพิธภัณฑ์ผ้าแล้ว อ.โกมล ยังใช้ร้านถ่ายรูปเก่าของพ่อมาทำเป็นพิพิธภัณฑ์ร้านถ่ายรูปฉลองศิลป์ ที่เก็บรวบรวมรูปเก่า วีถีชีวิต บุคคลสำคัญ จากฟิล์มขาวดำที่ตกทอดมาถึงท่าน แล้วนำไปอัดรูปใหม่มาให้พวกเราได้ดูกัน
และที่ประทับใจที่สุดก็คงจะเป็นภาพถ่ายในหลวง ร.๙ ของเราเมื่อครั้นเสด็จเยือนเมืองแพร่ ที่คุณฉลอง พ่อของอ.โกมล ซึ่งเป็นช่างภาพในสมัยนั้นได้มีโอกาสไปเก็บภาพความทรงจำมาให้พวกเราคนรุ่นหลังได้ดู
โชคดีได้มาเจออ.โกมลที่ห้องภาพฉลองศิลป์ ท่านก็ช่วยเล่าเรื่องที่มาที่ไปของพิพิธภัณฑ์นี้ให้ฟัง
พิพิธภัณฑ์นี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงยังไม่ได้เปิดให้เข้าดูได้ทุกวัน หากสนใจจะเข้าชมติดต่อได้ที่พิพิธภัณ์โกมลผ้าโบราณนะคะ
แดดร่มลมตก เราขอพาไปต่ออีกหนึ่งวัดสำคัญของคนเมืองลอง นั่นก็คือ วัดสะแล่ง หรือวัดป่าคันธธรรมาราม จะพาขึ้นดอยไปไหว้พระเจ้าองค์หลวงบนดอยโป่งมื่น เห็นองค์ท่านอยู่บนดอยลิบๆ
วัดสะแล่ง เดิมเป็นวัดร้างตั้งแต่พุทธกาล ครูบาสมจิตท่านเป็นคนมาบูรณะตั้งแต่ปี 2506 จนเป็นวัดสำคัญของชาวเมืองลองมาจนถึงปัจจุบัน
สะแล่ง มาจาก “ดอกสะแล่ง” ดอกไม้ที่ชาวเมืองนำมาถวายพระพุทธองค์เมื่อครั้งพุทธกาล
ที่วัดนี้มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนามากมาย ทั้งพระธาตุ อุโบสถ หอระฆัง
สลุงหลวง – มณฑปที่ประดิษฐานพระแก้วจันทรวิทูร
นี่แค่บางส่วนเท่านั้น ภายในวัดสะแล่งยังมีจุดให้เยี่ยมชมอีกมาก แบ่งเป็นเขตพุทธาวาสเก่าและใหม่ ที่วัดสะแล่งจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระและดำหัวครูบาสมจิตรเป็นประจำทุกปีในวันที่ 17 เมษายน ปีไหนที่ได้กลับบ้านสงกรานต์และหยุดยาวถึงวันที่ 17 เม.ย.ก็จะต้องไปให้ได้ เพราะผูกพันไปช่วยงาน ทำบุญกับพ่อมาตั้งแต่เด็ก ออกจากตัววัดเราก็จะขึ้นดอยไปไหว้พระเจ้าองค์หลวง เลาะถนนขึ้นดอยไปทางด้านหลังของวัด
หลวงพ่อพระพุทธวัฒโนภาสโลกนาถมหาศากยมุนี (พระเจ้าองค์หลวง)
ขึ้นมาถึงพระอาทิตย์ก็ตกพอดี บนยอดดอยโป่งหมื่น ยังมีพุทธสถานอีกหลายจุด เช่น พระธาตุช้างล้อมที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท วิหารโถง และกำลังจะสร้างพระธาตุอินแขวนจำลองไว้บนยอดเขานี้ด้วย ตรงจุดที่พระเจ้าองค์หลวงที่มีบันไดนาคยาวๆ นี้จะใช้เป็นที่จัดประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ หลังวันออกพรรษาทุกปี
และตรงจุดนี้เราก็จะเห็นวิวเมืองลองแบบพาโนรามาเลย
และขอลาทริปวันนี้ด้วยวิวเมืองลองยามท้องฟ้าอัสดง แล้วเดี่ยวพาไปเที่ยวต่อ เพราะเมืองลองยังมีที่เที่ยวให้คุณได้ไปสัมผัสอีกมาก แล้วไปหลงฮัก “เมืองลอง” ด้วยกันหนาเจ้า…
15 ธันวาคม 2559 เวลา 01:22 น.